เทคนิคการตั้งชื่อและออกแบบแบรนด์ ก่อนจ้างโรงงานรับผลิตครีม
ALD โรงงานรับผลิตครีม ขอแชร์เทคนิคดี ๆ การตั้งชื่อแบรนด์ให้ปัง
ตั้งชื่อแบรนด์ให้ดี… มีชัยไปกว่าครึ่ง! ยิ่งเป็นสินค้าที่มีคู่แข่งจำนวนมากในตลาด อย่างผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าและผิวกาย ครีมหรือเซรั่มต่างๆ ด้วยแล้ว การตั้งชื่อแบรนด์และออกแบบแบรนด์ให้เป็นที่น่าจดจำได้ ถือเป็นเรื่องสำคัญพอ ๆ กับการคิดค้นสูตรที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคและการหาโรงงานรับผลิตครีมที่ได้มาตรฐาน
การตั้งชื่อแบรนด์และออกแบบแบรนด์นั้น มีปัจจัยการหลายอย่างที่คุณจะต้องพิจารณา นอกจากความมีประสิทธิภาพและคุณภาพที่ดีของผลิตภัณฑ์แล้ว ยังต้องคำนึงถึงเรื่องความสวยงามในการออกแบบสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับแบรนด์ด้วย เช่น โลโก้, แพ็คเกจจิ้ง, ฉลากของบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการออกแบบสื่อที่ใช้ในการทำการตลาด และโฆษณาผ่านช่องทางออฟไลน์และสื่อออนไลน์ในโซเชียลมีเดีย Platform ต่างๆ ที่สำคัญที่สุดคือ การศึกษาตัวบทกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวกับการสื่อสารและการโฆษณาจากองค์การอาหารและยา เพื่อไม่ให้มีคำหรือภาพใดๆ ในการออกแบบแบรนด์ไปแล้วเกิดข้อผิดพลาดและผิดกฏของ อย. ก่อนที่คุณจะสั่งเดินหน้าการผลิตจากโรงงานรับผลิตครีมที่ได้มาตรฐาน ที่คุณเลือก
ในบทความนี้ ALD มีเทคนิคดีๆ ในการตั้งชื่อแบรนด์และออกแบบอัตลักษณ์ของแบรนด์เพื่อช่วยในการจดจำของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ง่ายๆ และที่สำคัญคือไม่ผิดระเบียบของ อย. ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
โรงงานรับผลิตครีม ALD แชร์เทคนิคการตั้งชื่อแบรนด์ที่ดี
1. ชื่อแบรนด์ที่ดีจะต้องสั้น กระชับ เข้าใจง่าย : ส่วนใหญ่แล้วการตั้งชื่อแบรนด์ต่างๆ นั้น จะมีกฏที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแบบสากลคือ ‘6 ตัวอักษร 3 พยางค์’ โดยชื่อแบรนด์ดังต่างๆ มักจะเลือกใช้ชื่อแบรนด์ประมาณ 2-3 พยางค์ เช่น Dior, Bobbi Brown, Sulwhasoo หรือแบรนด์ไทยก็เช่น Sewa, Dr.Pong หรือ EVE’S ซึ่งง่ายต่อการจดจำเป็นต้น
โดยไอเดียในการตั้งชื่อแบรนด์นั้น สามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้คือ
- แบรนด์ที่ตั้งชื่อตามชื่อของเจ้าของแบรนด์ : เช่น Gucci (ตั้งชื่อตาม Guccio Gucci), Honda (ตั้งชื่อตาม Soichiro Honda) หรือ Disney (ตั้งชื่อตาม Walt Disney) โดยแบรนด์ครีมและเซรั่มที่ขายกันในช่องทางออนไลน์ต่างๆ ก็นิยมนำไอเดียนี้มาใช้กัน เช่น EVE’S หรือ Pimniyom เป็นต้น
- แบรนด์ที่ตั้งชื่อตามสารสกัดสำคัญหรือแหล่งกำเนิด : เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่สกัดมาจากสาหร่ายสไปรูลิน่า ที่ชื่อแบรนด์ว่า SPIRULINA, แบรนด์ Fiji Water ที่เป็นน้ำดื่มจากเกาะ Viti Levu ในสาธารณรัฐฟิจิ หรือแบรนด์
- แบรนด์ที่ตั้งชื่อตามประเภทหรือคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ : ไอเดียนี้หากคุณเลือกที่จะใช้ ก็อาจจะต้องศึกษาเรื่องคำต้องห้ามของกฏ อย. สำหรับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวให้ดีเสียก่อน เช่น แบรนด์ The Body Shop ที่บอกว่าเป็นแบรนด์ของผลิตภัณฑ์ที่ดูแลเรือนร่างและผิวกาย หรือแบรนด์ Smooth E Gold ที่บอกชัดเจนว่าเป็นวิตามิน E ซึ่งหากคุณกำลังจ้างโรงงานรับผลิตครีมที่ได้มาตรฐาน สำหรับหน้าขาวใส คำที่คุณใช้ได้และไม่ผิดกฏ อย. ด้วย ตัวอย่างเช่น Gold, Shadow, Aura, Bring เป็นต้น
- แบรนด์ที่ตั้งชื่อโดยการสร้างคำขึ้นมาใหม่ : ไอเดียนี้เหล่าผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์เครื่องสำอางและผลิตดูแลผิว รวมไปถึงอาหารเสริมนิยมใช้กันเพื่อเลี่ยงกฏของ อย. เช่น Vite = White, หรือแบรนด์กาแฟชื่อดังอย่าง Nespresso ที่เป็นการผสมคำว่า NesCafe และ Espresso เป็นต้น
2. การตั้งชื่อแบรนด์ต้องไม่ผิดระเบียบของ อย.
- การตั้งชื่อแบรนด์ต้องไม่มีผลต่อความเชื่อและเรื่องที่ละเอียดอ่อนของคน อาทิเช่น การเมือง ศาสนา, เทพเจ้า ความเชื่อ ราชวงศ์
- การตั้งชื่อแบรนด์ที่โอ้อวดเกินความเป็นจริง หรือชื่อที่ไม่สุภาพ เช่น ครีมขาวด่วน ,ทันทีไบร์ท, ชื่อที่เกี่ยวกับการเพิ่มหรือลดขนาดร่างกาย เช่น สบู่นมโต หรือ ครีมเร่งขนาด เป็นต้น
- การตั้งชื่อแบรนด์ที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญของผลิตภัณฑ์
- การตั้งชื่อแบรนด์ที่ส่อถึงการทำลายคุณค่าของภาษาไทย หรือชื่อที่ไม่เหมาะสมด้านวัฒนธรรมของไทย
- การตั้งชื่อแบรนด์ที่สื่อถึงการใช้ทางเพศสัมพันธ์ เช่น เซรั่มรูฟิต
3. การตั้งชื่อแบรนด์ที่สื่อถึงผลิตภัณฑ์ได้อย่างชัดเจน เช่น
- ชื่อแบรนด์ที่สื่อถึงการบำรุงและความสวยงาม : เช่น มีคำว่า Beauty, Pretty หรือ Moisture และ Hya
- ชื่อแบรนด์ที่สื่อถึงสีของผลิตภัณฑ์ : Pink, Gold แต่คำว่า White อย. ไม่อนุญาตให้ใช้คำนี้เด็ดขาด
- ชื่อแบรนด์ที่มีการระบุลักษณะของเนื้อผลิตภัณฑ์ท้ายชื่อหลักของแบรนด์ : เช่น Cream, Serum, Sunsceen, Mask หรือ Gel เป็นต้น
- ชื่อแบรนด์โดยบอกผลลัพธ์ : เช่น Advanced Night Repair Eye, Anti-Stress Moisturizing Cream, Extremely Repair & Anti-Aging Expert Cream เป็นต้น
โรงงานรับผลิตครีม ALD แชร์เทคนิคการออกแบบแบรนด์ที่ดี
- คำนึงถึง CI (Company/Corporate Identity) เป็นหลัก : ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบอะไรของแบรนด์ ทั้งโลโก้, Icon, สีสัน และรูปแบบตัวหนังสือที่เป็นของแบรนด์ สิ่งที่คุณควรจะคำนึงถึงก็คือ CI ของแบรนด์คืออะไร? เพื่อนำไปสู่การออกแบบแพ็คเกจจิ้งหรือสื่อโฆษณาในโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ ที่สำคัญคือคุณควร กำหนด Moodboard เพื่อเป็นทิศทางของแบรนด์ของคุณ และพิจารณาว่าการออกแบบของคุณสอดคล้องกับกลยุทธ์แบรนด์หรือไม่
- ทำ Brand Guideline ไว้เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้งานในลักษณะต่างๆ : เช่น การออกแบบ Layout ไว้ใช้กับสื่อต่างๆ, รูปแบบการวางโลโก้ที่ใช้ ตำแหน่งการวางคอนเทนต์ หรือ Artwork สำหรับใช้สื่อสารทั้งช่องทางออนไลน์และออฟฟไลน์
- รูปแบบของตัวอักษรที่ใช้ควรมีเอกลักษณ์ของแบรนด์ : อย่างเช่น จะผลิตแบรนด์
เซรั่มนั้น ตัวอักษรควรมีความอ่อนโยน แต่ดูพรีเมี่ยมน่าเชื่อถือ แต่ก็ไม่ควรเลือกฟ้อนต์ที่อ่านยากมากเกินไป เพราะการเลือกใช้รูปแบบตัวอักษรต่างๆ ก็มีผลต่อการจดจำของคนเช่นกัน - การออกแบบให้ชื่อแบรนด์ผสมกับโลโก้ด้วย : เพราะทั้งโลโก้และชื่อแบรนด์นั้นจะต้องวางอยู่ในตำแหน่งที่โดดเด่น เห็นได้ง่าย วิธีการออกแบบลักษณะนี้ก็ช่วยสร้างการจดจำแบรนด์ได้ดีเช่นกัน และหากมีความหมายที่บ่งบอกหรือเกี่ยวข้องกับตัวสินค้าด้วยแล้ว เมื่อกลุ่มเป้าหมายเห็นโลโก้และชื่อแบรนด์แล้ว ก็จะสามารถตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น
ทั้งหมดนี้คือเคล็ดลับและเทคนิคสำคัญที่ ALD ในฐานะโรงงานรับผลิตครีมที่เชี่ยวชาญด้านการผลิตสกินแคร์ นำมาแชร์ให้คุณได้นำไปใช้ตั้งชื่อแบรนด์และสามารถออกแบบแบรนด์ สำหรับคนที่อยากสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง เพื่อความมีประสิทธิภาพในการสื่อสารและช่วยให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายจำจดแบรนด์ของคุณได้ง่าย
เพื่อจุดประสงค์สำคัญคือการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของคุณ… ส่วนการตัดสินใจซื้อซ้ำและเป็นลูกค้าประจำหรือไม่นั้น คุณภาพและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ จะเป็นสิ่งที่ทำให้้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อซ้ำ
หากคุณกำลังจะสร้างแบรนด์ของคุณเอง ALD พร้อมให้บริการ รับผลิตเซรั่ม ครีม สกินแคร์ และเวชสำอางค์ ด้วยประสบการณ์และทีมผู้เชี่ยวชาญจากโรงงานของเรา ที่พร้อมบริการและคำแนะนำต่างๆ อย่างมืออาชีพ
ติดต่อ บริษัท เอสเธทิค แล็บ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ (เอ-แอล-ดี) จำกัด