หากใครอยู่ในวงการสกินแคร์ก็น่าจะคุ้นหูคำว่า Pre & Probiotic Skincare กันบ้าง เพราะเป็นเทรนด์ที่เข้ามาตั้งแต่ ปี 2019 และยังมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างเรื่อยๆ ดูจากมูลค่าของตลาดผลิตภัณฑ์บำรุงผิวในสหรัฐอเมริกา ที่มีมูลค่าสูงถึง 1 แสน 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กลายเป็นหนึ่งในส่วนแบ่งตลาดที่มากที่สุดในอุตสาหกรรมด้านความสวยงาม ทำให้มีผู้เล่นน้องใหม่เข้ามาท้าทายแบรนด์เจ้าเดิมในตลาด โดยใช้คอนเซป “จุลินทรีย์” เป็นอาวุธสำคัญ
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแบคทีเรียมีชีวิตมีจุลินทรีย์ตามธรรมชาติเป็นส่วนผสมเริ่มมีให้เห็นมากขึ้น แม้จะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็กๆ จากแบรนด์ขนาดเล็กหรือสตาร์ทอัพที่คัดสรรแบคทีเรียดีมาเป็นส่วนผสมหลักในครีมบำรุงและโลชั่น เพื่อโปรโมตสุขภาพผิวที่ดีกว่า เช่น บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพในบาร์เซโลนา Greenaltech ที่ได้พัฒนาสารเสริมชีวนะจากสาหร่ายเซลล์เดียวเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าชื่อว่า Algaktiv ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบและลดจำนวนแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค หรือสตาร์ทอัพด้านความสวยงามที่ประสบความสำเร็จมากจากฝรั่งเศสอย่าง Gallinée ที่เข้าไปแทรกซึมการทำงานของแบคทีเรียบนใบหน้า เพื่อบำรุงแบคทีเรียที่อาศัยอยู่บนผิวหน้าได้อย่างเต็มที่
จุลินทรีย์ประจำถิ่นหรือ นอร์มอล ฟลอร่า (Normal flora) ส่งผลอย่างไรต่อผิวเรา
ร่างกายเต็มไปด้วย ‘ชีวนิเวศจุลชีพ’ หรือ ไมโครไบโอม (microbiome) มีทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย ไปจนถึงไวรัสที่มีปริมาณมากถึง 50 ล้านล้านชีวิต อาศัยในร่างกายมากกว่าเซลล์มนุษย์ที่ด้วยซ้ำ เรามักจะเข้าใจว่าจุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ร้ายกาจ ทั้งที่ในความจริงแล้วจุลินทรีย์ที่ ‘เป็นมิตร’ กับร่างกาย มีจำนวนมากกว่าจุลินทรีย์ที่ ‘เป็นปัญหา’ ซึ่งจุลินทรีย์ในร่างกายมนุษย์ (เรียกว่า Human Microbiota หรือ Microbiome) ไม่ได้มีแต่แบคทีเรียอย่างเดียว แต่มีทั้งอาร์เคีย รา และไวรัส แต่แบคทีเรียถือเป็นจุลินทรีย์ที่มีจำนวนมากที่สุด
ผิวหนังมนุษย์ มีจุลินทรีย์ทั้งหมดประมาณ 1012 เซลล์ (หนึ่งล้านล้านเซลล์) โดยรวมแล้วผิวหนังคนเรานั้นมีสภาพที่ค่อนข้างแห้ง เป็นกรดอ่อนมี pH 5-7 ทำให้จุลินทรีย์ส่วนใหญ่อยู่ไม่ได้ แต่ยังมีจุลินทรีย์บางชนิดที่ปรับตัวและอาศัยอยู่บนผิวหนังมนุษย์ได้ ซึ่งในผิวสภาพปกตินั้น จะต้องมีความสมดุลของจุลินทรีย์บนผิว ระหว่าง กลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์บนผิว Saprophytic Microorganism (ตัวอย่างเช่น กลุ่มจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ควบคุมค่าความเป็นกรด ด่างบนผิว) มากกว่า กลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษกับผิว Phatogenic Microorganism (เช่นที่ผิวหน้า คือ แบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว หรือที่รู้จักกันดี ว่า P. acnes)
การทำงานและความสัมพันธ์ระหว่าง Pre & ProBiotic
Probiotics
เป็นสารอาหารสำหรับเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์เท่านั้น ในทางเครื่องสำอาง การใส่สารอาหารที่จำเป็นสำหรับกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์เข้าไป เพื่อกระตุ้นให้จุลินทรีย์กลุ่มนี้เติบโตอย่างรวดเร็ว เพื่อมาควบคุมกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ สารสกัดยอดนิยมในกลุ่ม Prebiotic คือ Fructooligosaccharides, Galactooligosaccharides, Alpha-Glucan Oligosaccharide, Lactulose, Hyaluronic Acid, Sodium Hyaluronate, Lactic Acid, Acetic Acid, Diacetyl, Lactose, Lactis Proteinum, Milk Protein, Inulin โดยสารอาหารเหล่านี้จะไปเสริมการทำงานของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อผิว และทำหน้าที่ดูแลให้ Normal flora ของผิว เจริญเติบโตได้ดี จะช่วยควบคุมให้เชื้อชนิดอื่นๆที่ไม่มีประโยชน์ต่อผิวเติบโตได้ยาก ด้วยลักษณะ Competitive growth นั่นเอง!
Prebiotics
กลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์กับผิว โดยเติมกลุ่มจุลินทรีย์เข้าไปโดยตรง เพื่อควบคุมภาวะสมดุลให้กลับคืนเร็วยิ่งขึ้น และจุลินทรีย์ดังกล่าวจะใช้ประโยชน์จาก ProBiotic เป็นอาหารในการเติบโต ซึ่งสารสกัดยอดนิยมในกลุ่ม Probiotic คือจุลินทรีย์หมักทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น Lactobacillus, Lactobacillus Ferment, Lactobacillus Ferment Filtrate, Lactobacillus Lysate, Acetobacter, Aspergillus, Bifidobacterium, Lactococcus, Leuconostoc, Pediococcus, Saccharomyces, Streptococcus, Zygosaccharomyces กลุ่มจุลินทรีย์เหล่านี้จะทำหน้าที่สร้างสมดุล เสริมภูมิต้านทานผิวให้แข็งแรง ปรับสมดุลค่า pH อย่างอ่อนโยน
“สรุปสั้นๆว่า Prebiotic เป็นสารอาหารสำคัญให้กับ Probiotic นั่นเอง”
หากเรามีการใช้ Prebiotic และ Probiotic อยู่เป็นประจำ ถือเป็นการสร้างระบบปกป้องผิวประเภท Microbiological Barrier ให้อยู่ในภาวะสมดุล ผิวของเราก็จะห่างไกลจากการเกิดสิวและสิวอักเสบได้ ผิวหน้าเราประกอบด้วยเซลล์ผิวมนุษย์50% และเซลล์ไมโครไบโอม50% การจะดูแลผิวหน้าให้ครบทั้ง 100% จึงไม่สามารถละเลยเรื่องไมโครไบโอมได้อย่างเด็ดขาด แน่นอนว่าเมื่อเราอายุมากขึ้นจำนวนของไมโครไบโอมก็ลดลง แต่ไม่ใช่เพียงแค่นั้น สิ่งแวดล้อมรอบข้าง การใช้ชีวิตก็ส่งผลกระทบทำให้จำนวนของไมโครไบโอมลดลงด้วย เพราะฉะนั้นการรักษาสมดุลจึงมีความจำเป็นมาก ที่จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงและลดความความเสี่ยงของปัญหาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
“ภาพรวมตลาดความงามในยุค Pre & Probiotic Skincare”
ในวันที่รอบตัวเราเต็มไปด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ในสกินแคร์ การพุ่งเป้าไปที่ Pre & Probiotic Skincare ดูเหมือนจะกลายเป็นกุญแจลับไปในหลายผลิตภัณฑ์ นี่จะเป็นความท้าทายในตลาดใหม่ ให้เราเตรียมพร้อมเข้าไปแข่งขันในวงการนี้ แม้แต่แบรนด์ใหญ่ๆ เองอย่าง Lancôme, Clinique, Elizabeth Arden, Fresh หรือ Oskia ก็ขยับตัวลงมาเล่นในสนามนี้เช่นกัน นำทีมโดย L’Oréal ที่ตัดสินใจจดสิทธิบัตรให้กับสารสกัดชื่อ Vitreoscilla ที่ได้มาจากแบคทีเรียและนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์,La Roche-Posay ชูจุดขายสารสกัดจากธรรมชาติ ที่ช่วยสร้างสมดุลด้วยไมโครไบโอมให้กับผิวหน้าที่แห้งและขาดความชุ่มชื้น เห็นได้ว่ามีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อนำ Pre & Probiotic มาอยู่ในรูปของส่วนผสมในสกินแคร์อย่างมากมาย เสมือนเป็นสารอาหารและแหล่งพลังงานแก่จุลินทรีย์ดีที่อยู่ในผิวเราแล้วขจัดแบคทีเรียไม่ดีให้หมดไป เทรนด์นี้ยังคงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
อ้างอิงบทความ
https://pupesosweet.com/microbiome-the-future-of-skincare/, https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/, https://thematter.co/science-tech/microbiome-mapping-on-your-body/58843, http://healthydee.moph.go.th/view_article.php?id=1124, https://www2.mst.dk/Udgiv/publications/2018/11/978-87-7038-003-4.pdf
ใส่ใจทุกความต้องการ เพื่อผลลัพธ์เป็นเลิศ
หากคุณเป็นมืออาชีพ เราพร้อมจะรองรับการผลิต