ปัจจุบัน ตลาดผู้สูงอายุ มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหัวใจสำคัญของผู้ประกอบการ คือ การสื่อสารออกไปอย่างไรให้ตรงจุดกับความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มนี้ ที่มีอิสระทั้งการเงินและเวลา ทำอย่างไรเพื่อให้ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด
Gen X กำลังเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุ
Generation X คือผู้ที่เกิดในช่วงปี 1956-1980 โดยบางส่วนเข้าสู่วัยเกษียณเป็นที่เรียบร้อยแล้ว.
Gen X กลุ่มคนที่มีเวลาและมีอำนาจการใช้จ่ายสูง เมื่อเทียบกับเจนอื่นๆ มีวินัยในการดูแลสุขภาพ เพราะต้องการมีร่างกายและหน้าตาที่ดูดี มีชีวิตชีวา “Active, Balanced and Happy” ยังชอบทดลองสิ่งใหม่ๆ และเน้นสินค้าที่มีคุณภาพ เนื่องจากทำงานมาทั้งชีวิตจึงอยากใช้เงินให้เต็มที่ คนกลุ่มนี้จึงเป็นโอกาสของเหล่านักการตลาด ที่สามารถกำหนดให้เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ ใส่ใจในเรื่องสุขภาพความงาม
Behavioural Insights: ผู้หญิงในกลุ่มนี้กว่า 40% ให้ความสนใจว่าทำอย่างไรถึงจะดูอ่อนเยาว์สาวได้กว่าเดิม ทำให้พวกเขายินดีจ่าย มากกว่า 1,550 บาท/เดือน เพื่อทดลองสินค้าใหม่อยู่เรื่อยๆ สินค้าขายดีจึงเป็นกลุ่มสินค้าที่มุ่งเน้นดูแลผิวหน้าและผิวกาย ผลิตจากธรรมชาตินำมาผสมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เน้นชะลอริ้วรอยผิวหน้าและลำคอ ลดรอยกระ จุดด่างดำแห่งวัย บำรุงขนตา และกลุ่มสินค้าปกปิดผมขาวที่มีสีสันให้เลือกหลากหลาย
การจะเข้าถึงพวกเธอก็ต้องใช้ช่องทางผ่านอย่าง Facebook และการซื้อสินค้าผ่านออนไลน์เป็นหลัก เพราะได้รับอิทธิพลหลักๆมาจาก Gen Y ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลย ถ้าแบรนด์ความสวยความงามส่วนใหญ่จะไปทุ่มงบการตลาดบนช่องทางนี้มากกว่าช่องทางอื่นๆ
Insight ตลาดผู้สูงอายุ ที่ไม่ได้สูงอายุตามชื่อ
Gen X จะมีแนวคิดเป็นของตัวเองว่า ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ไม่เกี่ยวกับอายุ และแบ่งแยกกันได้อย่างชัดเจน คนกลุ่มนี้จึงไม่ชอบที่จะโดนตีตราว่า “แก่” หรือ “เป็นผู้สูงอายุ” หากวัดจากพฤติกรรมงานอดิเรกของคนกลุ่มนี้ จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันกิจกรรมที่แสดงถึงความแข็งแกร่ง เช่น การแข่งไตรกีฬา เพราะมองว่าเป็นความท้าทาย และพิสูจน์ว่าร่างกายของตนเอง ก็แข็งแกร่งไม่แพ้เด็กรุ่นใหม่ เป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากไม่ชอบถูกมองว่าล้าหลัง หรือโดนเหยียด (Bully) ว่าเป็นมนุษย์ป้า! มนุษย์ลุง! นี่จึงเป็นนิยามใหม่ของของ Gen X กับคำว่างานอดิเรกในวันนี้ ที่สนุกกับการทุ่มเททำอะไรบางอย่างเพื่อทำให้ชีวิตมีความหมายยิ่งขึ้น
แบรนด์จึงต้องระวังและควรปรับวิธีการสื่อสาร พร้อมสนับสนุนความเท่าเทียมกันในทุกช่วงวัย โดยหลีกเลี่ยงคำที่สื่อถึงการตัดสิน หรือระบุอายุแสดงชัดเจน เช่น ผลิตภัณฑ์ ‘ช่วยดูแลผิวดีที่สุด สำหรับผู้หญิงอายุ 50’ (ข้อมูลจากแบรนด์หนึ่งในท้องตลาด) เพราะ Gen X ในวันนี้ ก็เคยเป็นคนรุ่นใหม่ในวันวานและยังเปิดใจกับความท้าทายใหม่ๆอยู่เสมอ
แบรนด์จะตอบโจทย์ความต้องของตลาดผู้สูงอายุได้อย่างไร
โดยเฉพาะการพัฒนาสินค้าสำหรับ ตลาดผู้สูงอายุ หรือ Gen X โดยคนกลุ่มนี้มองว่า การใส่คุณสมบัติ Anti-Aging ในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเป็นสิ่งที่แบรนด์ควรมีอยู่แล้ว (Point of Parity) ไม่จำเป็นต้องแบ่งแยกประเภทออกจากเครื่องสำอางทั่วไป เพราะมันทำให้ Gen X เกิดความรู้สึกไม่สะดวกใจจะซื้อสินค้าที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับคนในกลุ่มตลาดผู้สูงอายุ
ปัจจุบันพบว่าพฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคกลุ่ม Gen X > Skintelligent สนใจการค้นคว้าหาข้อมูลเปรียบเทียบ ดูรีวิว และศึกษาข้อมูลเชิงลึกของแบรนด์จากแหล่งต่างๆที่น่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะเป็นจาก Influencers, Blogger หรือ Websites โดยในปีที่ผ่านมา มีการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ ‘ส่วนผสมในเครื่องสำอาง’ มากขึ้นถึง 331% นั่นจึงเป็นจุดสำคัญที่แบรนด์ต่างๆ จะต้องปรับตัวและปรับรูปแบบการนำเสนอใหม่ๆ วางตัวเป็นคอมมูนิตี้ที่สามารถส่งต่อความรู้ในการดูแลตัวเอง เปิดพื้นที่เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เพื่อนำมาปรับเพิ่มความเชี่ยวชาญในสินค้าของตัวเอง
ที่สำคัญควรให้ความสำคัญกับ “Admin” เพราะแอดมินผู้ตอบคำถาม คือปราการด่านแรกที่ลูกค้าจะได้เจอ ต้องทำหน้าที่เป็นนักการตลาดที่ดี ใส่ใจในการตอบแชทเป็นพิเศษ เพื่อทำให้ลูกค้าเกิดประสบการณ์ที่ดีต่อแบรนด์ ทั้งหมดนี้จึงอาจสรุปได้ว่า Gen X ไม่ใช่เจนที่แก่ขึ้น แต่เป็นเจนคนหนุ่มสาวที่มีอายุมากขึ้น และต้องการการดูแลที่เท่าเทียมเหมือนวัยอื่นๆเท่านั้นเอง
แนวทางที่นำเสนอมา ถือเป็นส่วนหนึ่งของการทำตลาดและน่าจะเป็นประโยชน์ในการสื่อสารกับกลุ่มผู้บริโภคในตลาดผู้สูงอายุ โดยเป็นเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นกับผู้บริโภคในทั่วโลก ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลมาปรับใช้ในการนำเสนอสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับลูกค้า และนำสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลนำมาปรับใช้ในองค์กร จะส่งผลให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์ เพื่อทำให้ปี 2021 เป็นปีแห่งการสร้างตลาดใหม่และกลุ่มลูกค้าใหม่ๆที่มากขึ้น