ฝ้า กระ จุดด่างดำ คือหนึ่งในปัญหาผิวที่สามารถมองเห็นได้บนใบหน้าอย่างชัดเจน มีผลทำให้ผิวหน้าไม่สม่ำเสมอและยากต่อการปกปิด หลายคนอาจจะคิดว่าปัญหาฝ้า กระ จุดด่างดำ เป็นปัญหาผิวของคนที่มีอายุมากเท่านั้น แต่ปัญหาผิวนี้สามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย เนื่องจากมีสาเหตุการเกิดได้ทั้งฮอร์โมนภายในร่างกาย สภาพแวดล้อมภายนอก ร่วมกับปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะนี้ขึ้นได้ วันนี้จะพาทุกคนมาทำความเข้าใจความแตกต่างและวิธีการรับมือกับปัญหานี้อย่างถูกต้อง
ความแตกต่างระหว่าง ฝ้า กระ จุดด่างดำ ?
บางคนอาจจะมีคำถามว่า ทำไมเราถึงต้องแยกให้ออกว่า อันไหนกระ อันไหนฝ้า อันไหนจุดด่างดำ ที่ต้องแยกให้ออกก็เพราะว่าเราจะได้ดูแลรักษาใบหน้าของเราให้กระจ่างใสได้อย่างตรงจุด และเพื่อผลลัพท์ที่ดีที่สุด นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเราจึงควรแยก ฝ้า กระ และจุดด่างดำให้ได้เสียก่อนหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “ภาวะไฮเปอร์พิกเมนเทชั่น (Hyperpigmentation)” คือจุดด่างดำที่ปรากฎขึ้นบนใบหน้าหรือบางตำแหน่งบนร่างกาย เป็นภาวะที่ผิวหนังบางจุดมีสีเข้มขึ้นกว่าปกติ ทำให้เกิดเป็นจุดด่างดำซึ่งมีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกันออกไป โดยสาเหตุที่แท้จริงนั้นเกิดขึ้นจากร่างกายผลิตเม็ดสีเมลานินมากเกินไปในบางตำแหน่งของผิวหนัง ทำให้ผิวหน้าแลดูหมองคล้ำไม่ขาวกระจ่างใส โดยเราสามารถแบ่งประเภทของจุดด่างดำบนใบหน้าได้ 2 ประเภท คือ ฝ้า (Melasma) และ กระ (Freckle)
ฝ้า (Melasma)
เกิดจากเซลล์เมลาโนไซต์ที่อยู่ในหนังกำพร้าชั้นล่างสุดของผิวหนัง ผลิตเมลานินหรือเม็ดสีออกมามากเกินจำเป็นบนหนังชั้นกำพร้า ทำให้เกิดเป็นรอยปื้นสีน้ำตาลที่เห็นได้อย่างชัดเจน กระจายเป็นวงกว้างและมีขอบเขตที่ไม่ชัดเจนนัก โดยสามารถแบ่งฝ้าออกได้ 2 ประเภท คือ
- ฝ้าตื้น เป็นชนิดของฝ้าที่เกิดจากการสร้างเม็ดสีเมลานินที่มากกว่าปกติในระดับผิวหนังชั้นหนังกำพร้า (ผิวหนังชั้นนอก) เป็นสีน้ำตาลเข้มหรือดำ ขอบชัด เกิดขึ้นง่ายรักษาได้เร็ว สามารถรักษาให้หายขาดได้
- ฝ้าลึก เกิดจากการสร้างเม็ดสีเมลานินที่มากกว่าปกติในระดับผิวหนังชั้นหนังแท้ มีลักษณะเป็นสีม่วงอมน้ำเงิน รักษายากกว่าฝ้าตื้น การใช้ครีมทาฝ้าเป็นประจำจะช่วยทำให้จางลงได้ แต่อาจจะไม่หายขาด
กระ (Freckle)
มีลักษณะการเกิดคล้ายกับฝ้าคือ เม็ดสีเมลานิน (Melanin pigment) ทำงานผิดปกติ จึงทำให้สีผิวบริเวณนั้นมีสีน้ำตาลหรือสีดำเป็นจุดเล็กๆ พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีผิวขาว ปรากฎตามใบหน้า ลำคอหรือส่วนต่างๆ ของร่างกายที่สัมผัสกับแสงแดดบ่อยๆ อาจมีสีเข้มขึ้นและกระจายเพื้นที่ใหญ่ขึ้นได้เมื่อถูกกระตุ้น โดยสามารถแบ่งกระออกได้ 4 ประเภท คือ
- กระตื้น (Freckle) มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลเล็กๆ ผิวเรียบ ขนาดประมาณ 0.5 มิลลิเมตร กระจายอยู่บริเวณใบหน้าและลำคอ กระชนิดนี้หากผิวโดนแสงแดดเป็นเวลานานๆ กระจะมีสีเข้มขึ้น และหากหลีกเลี่ยงแสงแดดเป็นเวลานานๆกระก็จะมีสีจางลงได้เอง
- กระแดด (Solar Lentigo) จะมีลักษณะเป็นจุดสำน้ำตาล ผิวเรียบ ขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตร กระจายอยู่บริเวณใบหน้าหรือบริเวณนอกร่มผ้าอื่นๆ เช่น กระที่แขน เป็นต้น โดยแสงแดดเป็นสาเหตุหลักของกระชนิดนี้ ซึ่งกระแดดจะมีสีเข้มขึ้น
- กระเนื้อ (Seborrheic Keratosis) มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อนูนออกมาเป็นตุ่ม ผิวเรียบหรือขรุขระยื่นออกมาจากผิวหนังบริเวณใบหน้า ลำคอ หรือลำตัว มักมีสีน้ำตาลหรือสีดำก็ได้ ซึ่งกระชนิดนี้ มีสาเหตุเกิดจากพันธุกรรม
- กระแดด (Solar Lentigo) จะมีลักษณะเป็นจุดสำน้ำตาล ผิวเรียบ ขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตร กระจายอยู่บริเวณใบหน้าหรือบริเวณนอกร่มผ้าอื่นๆ เช่น กระที่แขน เป็นต้น โดยแสงแดดเป็นสาเหตุหลักของกระชนิดนี้ ซึ่งกระแดดจะมีสีเข้มขึ้น เมื่อถูกแสงแดด
ปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิด ฝ้า กระ จุดด่างดำ
- พันธุกรรมและฮอร์โมน : มักพบได้ในคนช่วงวัย 30+ และผู้หญิงตั้งครรภ์ เพราะฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง โดยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะกระตุ้นให้ร่างกายผลิตเม็ดสีเมลานินเพิ่มขึ้น
- ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ : พฤติกรรมในการทำงานดึกๆ ปารืตี้ประจำ เหล่านี้ล้วนทำให้ เกิดความเครียดและพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลเสียต่อทั้งร่างกายและอารมณ์ ซึ่งความเครียดมีผลทำให้เกิดอนุมูลอิสระ และเร่งการหลั่งเม็ดสีเมลานิน
- การไม่ใช้ครีมบำรุง : สำหรับสายชิลล์ที่มักจะละเลยการดูแลผิว ส่งผลให้ผิวหน้าไม่ได้รับการดูแล จนเป็นปัญหาผิวที่สายเกินแก้ เพื่อลดความเสี่ยง จึงควรหมั่นทาครีมบำรุงผิว รวมถึงเลือกใช้สกินแคร์ที่มีส่วนผสมของสารไวท์เทนนิ่งที่ช่วยในการฟื้นฟูผิว
- แสงแดด : เป็นตัวกระตุ้นโดยตรงในการการผลิตเม็ดสีเมลานิน หน้าที่ของเมลานินเสมือนเป็นเกราะป้องกันแสงแดดและรังสียูวีตามธรรมชาติของผิว เมื่อเราตากแดดผิวจึงคล้ำขึ้น แต่ถ้าหากเจอแดดมากเกินไป อาจนำไปสู่ภาวะไฮเปอร์พิกเมนเทชั่นได้
- ผลข้างเคียงจากการรักษาทางการแพทย์ : พบในผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีฮอร์โมนบำบัด การให้ยาเคมีบำบัด การใช้ยาประเภทอื่นๆ เช่น ยาคุมกำเนิด คนที่มีโรคประจำตัวและขาดวิตามินที่จำเป็น รวมถึงการทำทรีทเม้นต์หน้าด้วยการทำเลเซอร์
ไม่กี่ปีที่ผ่านมามีผลิตภัณฑ์ไวท์เทนนิ่งในท้องตลาดมากมายที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อตอบโจทย์ในการลดเลือนการเกิดฝ้า กระ จุดด่างดำโดยมักมีสารไวท์เทนนิ่งที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นส่วนประกอบสำคัญของครีมรักษาฝ้า กระ จุดด่างดำ ดังนี้
สารสกัดที่ช่วยจัดการปัญหา ฝ้า กระ จุดด่างดำ
- ⭐️ Hydroquinone ไฮโดรควิโนน : เป็นสารไวท์เทนนิ่งที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการช่วยลดเลือดจุดด่างดำ
- ⭐️ Arbutin อาร์บูติน : เป็นส่วนผสมหลักของผลิตภัณฑ์ไวท์เทนนิ่ง ประสิทธิภาพในการยับยั้งเม็ดสีเมลานิน แต่ไม่มากเท่ากับไฮโดรควิโนน
- ⭐️ Kojic Acid โคจิก แอซิด : เป็นทางเลือกที่ค่อนข้างปลอดภัยและมีความเป็นธรรมชาติ แต่ก็ไม่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเม็ดสีเมลานินเท่าที่ควร
- ⭐️ Vitamin C วิตามินซี : เป็นสารที่มีประสิทธิภาพในการช่วยฟื้นฟูผิวหน้าให้ขาวกระจ่างใสขึ้น มักใช้ร่วมกับสารออกฤทธิ์ประเภทอื่นๆ
- ⭐️ Retinoid เรตินอยด์ : ถึงแม้จะมีประสิทธิภาพในการลดเลือนจุดด่างดำ แต่ก็มักทำให้ผิวหนังระคายเคืองและไวต่อแดดมากขึ้น
- ⭐️ Azelaic acid แอเซเลอิค แอซิด : ให้ผลลัพธ์ในการช่วยลดเลือนจุดด่างดำได้ดี แต่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการลดเลือนกระ
- ⭐️ AHA (Alpha Hydroxy Acid) อัลฟาไฮดรอกซี แอซิด : มีประสิทธิภาพในการช่วยลดเลือนจุดด่างดำบนผิวและกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิว
- ⭐️ 4-butylresorcinol บี-รีซอซินอล : เป็นสารสังเคราะห์อนุพันธ์ของ Resorcinol สารชนิดแรกที่แสดงผลการยับยั้งเอนไซม์ที่สร้างเม็ดสีเมลานิน
- ⭐️ Thiamidol ไทอามิดอล : เป็นสารไวท์เทนนิ่งในกลุ่มอนุพันธ์ Resorcinol ลดการเกิดจุดด่างดำ ฝ้า กระ ได้ดีกว่าสารบี-รีซอซินอลถึง 10 เท่า
*** ควรศึกษาการใช้สารสกัดต่างๆ เพื่อไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองผิว และได้รับผลลัพธ์ที่เหมาะสม ***
แม้ว่าปัญหาผิวที่เกิดขึ้นของคนวัย 30+ อาจจะไม่สามารถแก้ไขแล้วเห็นผลได้ในทันที เพราะริ้วรอย จุดด่างดำที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการสะสมเป็นระยะเวลายาวนาน จึงยากที่จะรักษา แต่หากจะหันมาดูแลตั้งแต่ตอนนี้ก็ไม่สายเกินไป ถือว่าเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.pobpad.com // http://www.phyathai-sriracha.com/ // https://www.vibhavadi.com/ // https://med.mahidol.ac.th/