รู้จักกับสัญลักษณ์ต่าง ๆ บนบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางก่อนจ้างโรงงานรับผลิตครีม

รู้จักกับสัญลักษณ์ต่าง ๆ บนบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางก่อนจ้างโรงงานรับผลิตครีม

ความหมายของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ก่อนการออกแบบบรรจุภัณฑ์กับ โรงงานรับผลิตครีม

การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับการผลิตเครื่องสำอางหรือครีมต่างๆ นอกจากจะต้องคำนึงถึงความสวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจกลุ่มผู้บริโภคแล้ว ก็ยังต้องคำนึงถึงการสื่อสารสาระสำคัญ อย่างจุดเด่นหรือข้อดีของผลิตภัณฑ์ด้วย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะใช้สัญลักษณ์ต่างๆ แทนการใส่ข้อความจำนวนมากลงบนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งนอกจากการใส่สัญลักษณ์ที่จำเป็นตามกฎหมายอย่าง อย. แล้วก็ยังมีสัญลักษณ์อื่นๆ ที่สำคัญ ฉะนั้นก่อนการจ้าง โรงงานรับผลิตครีม เจ้าของแบรนด์ต่างๆ ก็ควรทราบความหมายสัญลักษณ์เหล่านี้ก่อนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อจะได้เป็นโอกาสในการสื่อสารจุดเด่นหรือข้อดีของผลิตภัณฑ์ให้ผู้บริโภคได้อย่างชัดเจน

ตามหลักการและกฎหมายการผลิตหรือโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เป็นเครื่องสำอางหรือสกินแคร์ต่างๆ นั้น ข้อความหรือสัญลักษณ์ที่อยู่บนบรรจุภัณฑ์หรือฉลากจะต้องเป็นความจริง ซึ่งบนฉลากจะต้องระบุข้อความที่สำคัญได้แก่ ชื่อของผลิตภัณฑ์และชื่อทางการค้า ประเภทของผลิตภัณฑ์ รวมถึงชื่อ-ที่ตั้งของผู้ผลิตและของผู้นำเข้า, ปริมาณสุทธิ, วิธีใช้, ข้อแนะนำ, คำเตือน, เดือน/ปีที่ผลิตและที่หมดอายุ ที่สำคัญจะต้องมีเลขที่ใบรับแจ้งที่ได้จาก อย. และชื่อสารทุกชนิดที่เป็นส่วนผสมเครื่องสำอาง (เรียงจากมากไปหาน้อย) รวมถึงข้อความอื่นใดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้บริโภค ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือข้อมูลที่จำเป็นจะต้องมีปรากฏบนลงฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนการจ้าง โรงงานรับผลิตครีม

ซึ่งจากข้อมูลทั้งหมดที่เรากล่าวไปแล้ว ก็ถือว่าเยอะมากจนแถบไม่มีพื้นที่ให้ออกแบบหรือสื่อสารอะไรเพิ่มบนกล่องบรรจุภัณฑ์ ฉะนั้นการใ่ส่สัญลักษณ์ที่เป็นไอคอนภาพต่างๆ จึงช่วยในการสื่อสารกับกลุ่มผู้บริโภคเพื่อประโยชน์ในการเลือกซื้อและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ให้เหมาะแก่ความต้องการได้ดีอีกทางหนึ่ง โดยสัญลักษณ์ที่สำคัญของเครื่องสำอางและสกินแคร์ต่างๆ ที่นิยมใช้กันมีดังต่อไปนี้

สัญลักษณ์ที่นิยมใช้บนบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับ โรงงานรับผลิตครีม มีดังนี้

  1. สัญลักษณ์ PAO หรือ Period-after-opening symbol : จะเป็นรูปภาพของกระป๋องและมีตัวเลขกำกับอยู่ เช่น 6M หรือ 12M เป็นต้น ซึ่งมีความหมายว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหรือครีมนั้นๆ เมื่อเปิดฝาแล้วจะมีอายุการใช้งานได้ 6 เดือนหรือ 12 เดือนนั่นเอง ฉะนั้น สำหรับผู้บริโภคก่อนจะเปิดใช้เครื่องสำอางหรือครีมบำรุงผิวต่างๆ ให้สังเกตสัญลักษณ์ PAO เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานผลิตภัณฑ์เหล่านี้
  2. สัญลักษณ์ Leaping Bunny หรือ Cruelty Free Bunny : จะเป็นรูปภาพของวงกลม แล้วมีคาดตัวกระต่าย หรือเป็นรูปกระต่ายแล้วมีอักษรกำกับว่า Not Tested On Animal หรือ No Animal Testing symbol ซึ่งสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าเครื่องสำอางหรือครีมกระปุกนั้น ไม่มีการใช้สัตว์ในการทดลองผลิตภัณฑ์นี้ ทั้งกระบวนการผลิตส่วนผสมหรือจาก โรงงานรับผลิตครีม ไม่มีการนำสัตว์มาทดลองหรือทารุณกรรมแต่อย่างใด
  3. สัญลักษณ์ Paraben Free : จะเป็นรูปวงกลมสีเขียวพร้อมอักษร Paraben Free ซึ่งหมายความว่า ผลิตภัณฑ์นี้ไม่มีส่วนผสมของสารกันเสียชนิด Paraben ที่เป็นสารเคมีช่วยรักษาสภาพเครื่องสำอางไม่ให้เสีย ขึ้นรา หรือเสื่อมสภาพอันเกิดจากสิ่งแวดล้อม แบคทีเรียและเชื้อรา มีข้อบ่งชี้ ของงานวิจัยหลายสถาบันระบุว่าสาร Paraben ไม่ปลอดภัยเพราะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้ โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม เพราะว่าสารดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว หรือบางครั้งก็อาจก่อให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองได้
  4. สัญลักษณ์ Estimated sign หรือ e-mark : เป็นสัญลักษณ์รูปตัว e ที่บ่งบอกปริมาณที่ตรงตามมาตรฐานของสหภาพยุโรป เช่น ฉลากบรรจุภัณฑ์ระบุไว้ว่า 15 ml e นั่นก็หมายความว่าเครื่องสำอางหรือครีมบำรุงผิวนั้นมีปริมาณ 15 ml ตรงตามมาตรฐาน โดยไม่นับรวมน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์ที่ใส่ นั่นเอง
  5. สัญลักษณ์ Ecocert : จะเป็นสัญลักษณ์คำว่า Ecocert ที่อาจอยู่ภายในวงกลมหรือวงรี ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นี้ผ่านการรับรองมาตรฐานสินค้าอินทรีย์จากประเทศฝรั่งเศส โดยเครื่องสำอางหรือครีมนั้นมีส่วนผสมมาจากพืชออร์แกนิคมากกว่า 95% โดยพืชที่เป็นส่วนประกอบจะต้องไม่มีการใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลงใดๆ ด้วย เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่แพ้ง่ายและต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดสารเคมี ซึ่งก็มีอีกสัญลักษณ์หนึ่งที่มีความคล้ายคลึงกัน ก็คือ USDA organic ที่บ่งบอกว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากพืชออร์แกนิคมากกว่า 95% เช่นเดียวกัน
  6. สัญลักษณ์ Green Dot : เป็นสัญลักษณ์รูปวงกลมสีเขียวและมีลูกศรในวงกลม บ่งบอกความหมายว่า เครื่องสำอางหรือสกินแคร์นี้เป็นผลิตภัณฑ์นี้จะไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีการจัดการขยะอย่างมีความรับผิดชอบและถูกวิธี ซึ่งผู้ผลิตหรือ โรงงานรับผลิตครีม จะต้องเป็นผู้ที่จ่ายค่ากำจัดขยะและจะต้องทำสัญญารับรองเงื่อนไข โดยผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จากประเทศอังกฤษ, อิตาลี ฝรั่งเศสและเยอรมัน มักนิยมใช้สัญลักษณ์นี้กันมาก เพื่อเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  7. สัญลักษณ์ Refer to Insert : จะเป็นรูปหนังสือถูกเปิดออก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อสารกับผู้บริโภคว่าให้อ่านคำอธิบายเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดวิธีการใช้งานหรือข้อควรระวังเพิ่มเติมได้ที่ในแผ่นพับที่แนบมาด้วย ด้านในบรรจุภัณฑ์ เพราะบางครั้งพื้นที่บนกล่องบรรจุภัณฑ์ก็ไม่อาจใส่ข้อมูลผลิตภัณฑ์ได้ทั้งหมดนั่นเอง
  8. สัญลักษณ์ Dermatologist Tested : หมายถึงผลิตภัณฑ์นั้นผ่านการตรวจสอบโดยแพทย์ผิวหนังเรียบร้อยแล้ว
  9. สัญลักษณ์ Hypo-Allergenic : ส่วนใหญ่จะพบสัญลักษณ์นี้ได้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับเด็ก ซึ่งหมายถึงการทดสอบทางการแพทย์ที่เป็นมาตรฐานสากล โดยเป็นการทดสอบที่ควบคุมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังโดยเฉพาะ จึงทำให้ครีมหรือเครื่องสำอางนั้นมีความอ่อนโยนต่อผิว ไม่ก่อให้เกิดการแพ้และระคายเคือง
  10. สัญลักษณ์ Non-comedogenic : หมายถึงครีมหรือเครื่องสำอางชนิดนั้นไม่มีส่วนผสมที่ทำให้เกิดรูขุมขนอุดตัน
  11. สัญลักษณ์ Best Before End of (BBE) หรือ EXP : ก็คือสัญลักษณ์ที่บอกวันหมดอายุของผลิตภัณฑ์ โดยครีมหรือเครื่องสำอางนั้นจะเป็นวันหมดอายุโดยที่เรายังไม่ได้เปิดใช้ ซึ่งหากเปิดใช้แล้วให้ดูอายุการใช้งานจากสัญลักษณ์ PAO ควบคู่ด้วย
  12. สัญลักษณ์ Ultraviolet A หรือ UVA : ส่วนใหญ่จะสามารถพบสัญลักษณ์จากครีมกันแดด แต่ก็จะมีเครื่องสำอางบางชนิด เช่น รองพื้น BB หรือ CC ครีมที่ผสมสารกันแดดเข้าไปด้วย นั่นเอง
  13. สัญลักษณ์ Certified Vegan : คุณอาจจะเจอเป็นรูปตัวอักษร V สีเขียวหรือเป็นตัวอักษร Certified Vegan กำกับอยู่ในบรรจุภัณฑ์ ซึ่งบ่งบอกว่าเครื่องสำอางหรือครีมบำรุงผิวนั้นเป็น Vegan คือผลิตมากจากพืชโดยไม่มีผลผลิตจากสัตว์ใดๆ ทั้งน้ำผึ้ง,
    นมหรือไข่ผสมอยู่ รวมถึงไม่มีการทดลองในสัตว์ด้วย
  14. สัญลักษณ์ Mobius Loop : คือสัญลักษณ์ลูกศร 3 อัน ภายในวงกลมสีเขียว ซึ่งหมายถึงบรรจุภัณฑ์ของเครื่องสำอางหรือครีมบำรุงผิวนั้นสามารถนำไปรีไซเคิลได้ บางครั้งอาจมีการระบุเปอร์เซ็นไว้ในวงกลมด้วยเพื่อบอกว่าวัสดุที่ใช้สามารถรีไซเคิลได้กี่เปอร์เซ็นต์
  15. สัญลักษณ์ TIDY MAN : เป็นรูปคนกำลังทิ้งขยะ ซึ่งหมายความว่า บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางหรือสกินแคร์เหล่านั้นมีกระบวนการหรือขั้นตอนการจัดการขยะอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะแยกขยะลงถังให้ถูกประเภทหรือนำไปรีไซเคิล เป็นต้น

สัญลักษณ์เหล่านี้แม้จะเป็นการสื่อสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของคุณกับลูกค้า แต่เราเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายไม่มากก็น้อย ฉะนั้นก่อนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของสกินแคร์หรือเครื่องสำอาง ก่อนส่งเข้า โรงงานรับผลิตครีม คุณอาจจะต้องปรึกษาข้อมูลกับโรงงานว่าสามารถผลิตครีมตามเงื่อนไขสำคัญอย่าง Green Dot, Hypo-Allergenic, Certified Vegan หรือ Mobius Loop ที่อาจเป็นจุดตัดสินใจสำคัญของผู้บริโภคยุคใหม่ เพื่อจะได้นำไปออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีสัญลักษณ์เหล่านี้ เป็นการเพิ่มโอกาสการขายสำหรับผลิตภัณฑ์ของคุณนั่นเอง

หากคุณกำลังจะสร้างแบรนด์เครื่องสำอางหรือครีมของคุณเอง ALD คือ โรงงานรับผลิตครีม เซรั่มและสกินแคร์ต่างๆ ที่พร้อมให้บริการคุณ ด้วยประสบการณ์และทีมผู้เชี่ยวชาญจากโรงงานของเรา ที่พร้อมบริการและคำแนะนำต่างๆ อย่างเต็มใจ

ติดต่อ บริษัท เอสเธทิค แล็บ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ (เอ-แอล-ดี) จำกัด

Share:
Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on linkedin
รับคำปรึกษาฟรี
เริ่มต้นสร้าง
แบรนด์กับเรา
เพิ่มเพื่อน

Connect us

Most Popular

บทความล่าสุด

บทความที่คุณอาจสนใจ