อย. และ กฏหมายอย. เครื่องสำอาง ที่เจ้าของแบรนด์ควรรู้

แต่เดิมเครื่องสำอางแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1) เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ คือ เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารเคมีและวัตถุที่ อย.ประกาศให้เป็นสารควบคุมพิเศษ เป็นเครื่องสำอางที่มีความเสี่ยงสูงหากผู้บริโภคใช้เครื่องสำอางนั้นไม่ถูกวิธี จึงต้องมีการขึ้นทะเบียนตำรับเพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พิจารณาความถูกต้อง เหมาะสม และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ก่อนจำหน่าย เครื่องสำอางในกลุ่มนี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ดัดผม ย้อมผม ฟอกสีผม แต่งผมดำ ผลิตภัณฑ์ทำให้ขนร่วง ยาสีฟัน หรือน้ำยาป้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ เป็นต้น เครื่องสำอางประเภทนี้ที่ฉลากจะต้องแสดงข้อความว่า “เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ” และมีเลขทะเบียนในกรอบ อย.

2) เครื่องสำอางควบคุม คือ เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารเคมีและวัตถุที่ อย.ประกาศให้เป็นสารควบคุม เป็นเครื่องสำอางที่มีความเสี่ยงรองลงมา การกับดูแลจึงลดระดับลงมาจากการขึ้นทะเบียน เป็นเพียงการจดแจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเท่านั้น เครื่องสำอางในกลุ่มนี้ได้แก่ ผ้าอนามัย ผ้าเย็น กระดาษเย็น แป้งฝุ่นโรยตัว แป้งน้ำ เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารป้องกันแสงแดด เครื่องสำอางที่ผสมสารขจัดรังแค เป็นต้น เครื่องสำอางประเภทนี้ที่ฉลากจะต้องแสดงข้อความว่า “เครื่องสำอางควบคุม”

3) เครื่องสำอางทั่วไป ได้แก่ เครื่องสำอางที่ไม่มีส่วนผสมของสารควบคุมพิเศษ หรือสารควบคุม เป็นเครื่องสำอางที่ผู้บริโภคมีโอกาสเกิดอันตรายจากการบริโภคได้น้อย ได้แก่ สบู่ แชมพู ครีมนวดผม แป้งทาหน้า ลิปสติก เจลแต่งผม น้ำหอม ครีมบำรุงผิว ดินสอเขียนคิ้ว บลัชออนแต่งแก้ม อายแชโดว์ เป็นต้น เครื่องสำอางประเภทนี้ต้องแสดงฉลากภาษาไทยให้ครบถ้วน

กฏหมายหลักๆที่บังคับใช้กับเครื่องสำอางในอดีต

1. ต้องมีข้อความภาษาไทยที่อย.กำหนดให้ระบุบนฉลากผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่วางจำหน่าย (แยกตามประเภทเครื่องสำอาง)
ประกาศคณะกรรมการเครองสำอาง (ฉบบที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๔๕ เรือง ฉลากของเครื่องสําอาง (ฉบับที่ ๔) ลงวนที่๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕x

2. การโฆษณาเครื่องสำอาง
การโฆษณาเครื่องสำอาง ไม่ต้องขออนุญาตก่อนทำการโฆษณา แต่การโฆษณาต้องอยู่ในขอบเขตของความถูกต้อง ถูกหลักวิชาการและเป็นธรรมต่อผู้บริโภค (พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค 2522) แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการอาจขอให้ อย.พิจารณาให้ความเห็นก่อนทำการโฆษณาได้

3. การผลิต/นำเข้าเครื่องสำอาง
3.1 เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ ต้องขึ้นทะเบียนก่อนผลิตหรือนำเข้า
3.2 เครื่องสำอางควบคุม ต้องจดแจ้งรายละเอียดก่อนผลิตหรือนำเข้า
3.3 เครื่องสำอางทั่วไป

– ผลิตในประเทศ…ไม่ต้องขึ้นทะเบียนหรือรายละเอียด เพียงแต่แสดงข้อความที่ฉลากภาษาไทยให้ครบถ้วน
– นำเข้า…ต้องยื่นเอกสารขอนำเข้าและต้องจัดทำฉลากภาษาไทยให้ครบถ้วนและถูกต้อง ภายใน 30 วัน นับแต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบให้นำเข้า

4. สถานที่ขายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
การขายเครื่องสำอาง สามารถกระทำได้โดยอิสระ ไม่ต้องขออนุญาตขายเครื่องสำอาง แต่เครื่องสำอางที่ขายต้องมีฉลากภาษาไทยและฉลากต้องแสดงข้อความครบถ้วนและถูกต้องตามที่ได้กำหนดไว้

อย.และเครื่องสำอางในปัจจุบัน

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2551 อย.ประกาศยกเลิกการแบ่งประเภทเครื่องสำอางแบบเดิมและให้เครื่องสำอางทุกชนิดเป็นเครื่องสำอางควบคุม ทีผลบังคับใช้ในวันที่ 26 กันยายน 2551 โดยรายละเอียดดังนี้

1.1 เครืองสำอางทุกชนิดที่จะผลิตหรือนำเข้าเพื่อขาย หลังวันที่ 26 กันยายน 2551 ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าต้องมาจดแจ้งก่อน (ย้ำว่าเป็นการจดแจ้ง)
1.2 เครื่องสำอางทั่วไปที่เคยได้รับอนุญาตให้นำเข้าหรือผลิตเพื่อวางจำหน่ายในท้องตลาดก่อนวันที่ 26 กันยายน 2551 ผู้ประกอบการต้องมาจดแจ้งที่ อย. หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ต ให้เรียบร้อยก่อนการผลิตหรือนำเข้าภายใน ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2553 (ยืดเวลาให้ผู้ประกอบการรายเก่ารวมแล้วก็ 1 ปีกว่าๆ นับจาก 26 กันยา 51 ถึง 31 ธันวา 53) หากพ้นกำหนดดังกล่าวและไม่มาจดแจ้ง เมื่อตรวจพบจะถูกดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มงวด โดยจะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
1.3 การจดแจ้ง หมายถึง การยื่นรายละเอียดต่างๆของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ อย.ตรวจสอบ รายละเอียดที่ต้องยื่นให้ อย. คร่าวๆ ได้แก่

– ชื่อแบรนด์ (ชื่อการค้า) ของผลิตภัณฑ์
– ชื่อสินค้า
– ประเภทของเครื่องสำอาง / วัตถุประสงค์ในการใช้
– ส่วนผสมทั้งหมด เรียงลำดับจากความเข้มข้นมากไปน้อย และระบุ % สำหรับส่วนผสมที่ อย.กำหนดให้เป็นสารควบคุมปริมาณ (สารที่ อย.จำกัด% ที่อนุญาตให้ใส่)
– ผู้รับผิดชอบการวางตลาด / ผู้แบ่งบรรจุ/ผู้ผลิต
และเมื่อผ่านการตรวจสอบข้อมูลที่ยื่นแล้ว อย.จะอนุมัติเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลักให้แก่ผลิตภัณฑ์นั้นๆ เลข 10 หลักที่ อย. อนุมัติให้ มีความหมายดังนี้

2 หลักแรก บ่งบอกว่าแจ้งรายละเอียดที่จังหวัดใด หลักที่ 3 บ่งบอกว่าเป็นสินค้าที่ผลิตหรือนำเข้าหรือผลิตเฉพาะเพื่อการส่งออก

หลักที่ 4 และ 5 บ่งบอกว่าแจ้งรายละเอียดในปี พ.ศ. ใด
และหลักที่ 6-10 เป็นลำดับของการออกใบรับแจ้งในปีพ.ศ. นั้น

ตัวอย่างเช่น 10-1-53-99999 หมายถึง
10 หมายถึง แจ้งรายละเอียดที่กรุงเทพฯ
1 หมายถึง ผลิต
53 หมายถึง แจ้งในปี พ.ศ. 2553
99999 หมายถึง เป็นใบรับแจ้งลำดับที่ 99999 ที่ออกในปี พ.ศ. 2553

เลขที่ใบรับแจ้งเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งชี้ว่าเครื่องสำอางนั้น ได้แจ้งรายละเอียดต่อรัฐตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ผู้เกี่ยวข้อง(ทั้งภาครัฐและเอกชน)สามารถใช้ตัวเลขเหล่านี้ในการสื่อสาร ร้องเรียน สืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลของอย.ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ กว่าการสืบค้นด้วยชื่อเครื่องสำาอางซึ่งมักจะมีหลายพยางค์ หรือเป็นคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ต่อมา วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 54 อย.ประกาศให้ระบุเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก บนฉลากผลิตภัณฑ์ด้วย มีผลบังคับใช้ 14 กันยายน 2554 เป็นต้นไป
เดิมเลขที่ใบรับแจ้งจะปรากฏอยู่ที่ตอนบนใบรับแจ้งเท่านั้น แต่ขณะนี้ได้มีกฎหมายใหม่กำหนดให้ “เลขที่ใบรับแจ้ง” เป็นข้อความอันจำเป็นที่ฉลากของเครื่องสำอางด้วย เมื่อผู้บริโภคอ่านฉลาก ก็จะรู้โดยง่ายว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้แจ้งรายละเอียดเบื้องต้นกับรัฐแล้วหรือไม่ หรือหากไม่แน่ใจ ก็สามารถใช้ตัวเลข ๑๐ หลักนั้น สืบค้นในฐานข้อมูลของ อย.ได้

รายการอ้างอิง

pharmabeautycare
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย. )

Share:
Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on linkedin
รับคำปรึกษาฟรี
เริ่มต้นสร้าง
แบรนด์กับเรา
เพิ่มเพื่อน

Connect us

Most Popular

บทความล่าสุด

บทความที่คุณอาจสนใจ