เครื่องสำอางหมดอายุ .. ใช้ต่อได้ไหม ?

เครื่องสำอางที่ผ่านมาตรฐานการผลิตและยังไม่หมดอายุเมื่อเปิดใช้แล้วจะทำให้จุลินทรีย์จากภายนอกปนเปื้อนลงไปในเครื่องสำอางได้ ดังนั้นจึงมีสัญลักษณ์เพื่อบอกระยะเวลาว่าหลังจากเปิดแล้วจะสามารถใช้เครื่องสำอางนั้นได้นานเท่าใด

เครื่องสำอางที่ผ่านมาตรฐานการผลิตและยังไม่หมดอายุเมื่อเปิดใช้แล้วจะมีการปนเปื้อนจุลินทรีย์ที่เกิดจากผู้ใช้เครื่องสำอางนั้น ทำให้จุลินทรีย์จากภายนอกปนเปื้อนลงไปในเครื่องสำอางได้ ทั้งจากอุปกรณ์ต่างๆ เช่น แปรง ฟองน้ำ รวมทั้งการใช้นิ้วมือสัมผัสกับเครื่องสำอาง การใช้เครื่องสำอางสัมผัสกับส่วนต่างๆ เช่น ลิปสติกทาปาก มาสคาราปัดขนตา คอนซิลเลอร์แตะที่ผิวหนัง แม้แต่การเปิดภาชนะบรรจุก็ทำให้จุลินทรีย์จากอากาศลงไปปนเปื้อนในเครื่องสำอางได้เช่นกัน ดังนั้นจึงมีสัญลักษณ์เพื่อบอกระยะเวลาว่าหลังจากเปิดแล้วจะสามารถใช้เครื่องสำอางนั้นได้นานเท่าใด

วิธีการดูอายุของผลิตภัณฑ์

โดยทั่วไปเครื่องสำอางที่ยังไม่เปิดใช้จะมีอายุหลังผลิต 2 – 3 ปี เรียกว่าอายุผลิตภัณฑ์ (shelf life) ซึ่งฉลากเครื่องสําอางต้องระบุ MFG. ย่อมาจาก manufacture date คือ เดือนและปีที่ผลิต  และ EXP. ย่อมาจาก expiration date คือ เดือนปีที่หมดอายุ บางผลิตภัณฑ์อาจจะระบุเป็นวัน เดือน ปี และครั้งที่ผลิตด้วย

เครื่องสำอางหมดอายุ ใช้ต่อได้ไหม
ฉลากเครื่องสำอางที่ระบุเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุ

 

สัญลักษณ์ PAO หรือ period-after-opening

เป็นตัวเลขหน้าตัวอักษร M และอยู่ภายในลัญลักษณ์กระปุกเปิดฝา เป็นตัวระบุอายุเครื่องสำอางหลังเปิดใช้ครั้งแรก เช่น ถ้าเป็น 12M หมายถึง หลังจากเปิดแล้วสามารถใช้เครื่องสำอางนี้ภายในระยะเวลา 12 เดือน ในผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดอาจมีระยะเวลาหลังเปิดใช้ที่แตกต่างกัน จึงอาจเห็นตัวเลขเป็น 6M 18M หรือ 24M ก็ได้ ซึ่งตัวเลขหน้าตัว M หมายถึงจำนวนเดือนที่สามารถใช้ผลิตภัณฑ์หลังเปิดใช้   ถ้าเปิดภาชนะบรรจุแล้วควรใช้เครื่องสำอางให้หมดภายในระยะเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตามถ้าบนฉลากไม่มี สัญลักษณ์ PAO ก็ไม่ได้หมายความว่าเมื่อเปิดใช้แล้วจะสามารถใช้ได้จนถึงวันหมดอายุ เครื่องสำอางต่างๆ จะมีระยะเวลาหลังเปิดใช้โดยประมาณ

PAO ย่อมาจาก
สัญลักษณ์ PAO ของผลิตภัณฑ์ต่างๆ

วิธีการดูเช็คอายุของผลิตภัณฑ์ มี 2 วิธี ได้แก่

1. หาก PAO ถึงก่อนวันหมดอายุให้นับ PAO เป็นหลัก นั่นคือ หลังจากเปิดแล้วควรใช้เครื่องสำอางให้หมดภายในระยะเวลาที่กำหนด แม้ว่าจะยังไม่ถึงวันหมดอายุ (EXP) ที่อยู่บนฉลากก็ตาม เช่น

ถ้าเครื่องสำอางผลิตเดือน 01.01.22 อายุผลิตภัณฑ์ 3 ปี จึงหมดอายุ แต่มีสัญลักษณ์ PAO ที่บอกว่าผลิตภัณฑ์มีอายุหลังเปิดใช้ 12 เดือน ดังนั้นถ้าเปิดใช้เดือน 01.12.22  ก็สามารถใช้ได้ถึง 30.11.23 หลังจากนั้นไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์นี้แล้วแม้ว่าจะยังไม่หมดอายุก็ตาม

2. ดูวันหมดอายุเป็นหลัก นั่นคือ หลังจากเปิดแล้วควรใช้เครื่องสำอางให้หมดก่อนวันหมดอายุ (EXP)

หากผลิตภัณนั้น EXP 01.12.22 และสัญลักษณ์ PAO ที่บอกว่าผลิตภัณฑ์มีอายุหลังเปิดใช้ 12 เดือน หากเปิดใช้เดือน 01.04.22 แต่เมื่อถึง  01.12.22 ก็ควรทิ้งเครื่องสำอางเช่นกัน แม้ว่าจะมีอายุหลังเปิดใช้แค่ 8 เดือน ไม่ควรใช้ต่อไปเนื่องจากเครื่องสำอางนั้นหมดอายุแล้ว สามารถเขียนแผนภาพได้ดังภาพด้านล่าง

ระยะเวลาการใช้เครื่องสำอางเมื่อพิจารณาจากอายุผลิตภัณฑ์และอายุหลังเปิดใช้ครั้งแรก

มองหามืออาชีพในการรับผลิตสกินแคร์สร้างแบรนด์ ติดต่อ AESTHETIC DEFINITION โรงงานรับผลิตครีม ที่ยืนหนึ่งในด้านคุณภาพการผลิตและงานบริการ รวมไปถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร

รายการอ้างอิง
เครื่องสำอางบนความเจ็บปวดของกระต่าย. (online). Avaiable: http://www.jr-rsu.net/article/957. (Retrieved 05/08/2016).
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสําอาง. (online). Avaiable: http://e-cosmetic.fda.moph.go.th/frontend/theme_4/view_ information.php?Submit=Clear&ID_Inf_Nw_Manager=00000006500. (Retrieved 01/08/2016).

พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 86ก วันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2558. (online). Avaiable: http://library2.parliament.go.th/giventake/content_ nla2557/ law86-080958-5.pdf. (Retrieved 05/08/2016).

รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์(online). Avaiable: http://www.dmsc.moph.go.th/userfiles/files/cosmetics.pdf. (Retrieved 05/08/2016).

หลักเกณฑ์การพิจารณาการจดแจ้งเครื่องสำอาง. (online). Avaiable: http://www.fda.moph.go.th/News59/Cosmetic/cosmeticmanual151058.pdf. (Retrieved 01/08/2016).

อันตรายจากการใช้เครื่องสำอาง. (online). Avaiable: http://webnotes.fda.moph.go.th/consumer/csmb/csmb2544.nsf/e6dc9e4bbeacd7ba47256e60003a76c6/4a104ee373c04e5ec7256a1e0017885c?OpenDocument

อันตรายจากสารต้องห้ามในเครื่องสำอาง. (online). Avaiable: http://med.mahidol.ac.th/ramapharmacy/th/knowledge/general/04072016-2055-th

Cosmetics shelf life. (online). Avaiable:  http://checkcosmetic.net/cosmetic-and-perfume-shelf-life-faq/. (Retrieved 05/08/2016).

Testing the Physical Characteristics of Cosmetics. (online). Avaiable: http://www.azom.com/ article.aspx? ArticleID=12477. (Retrieved 05/08/2016).

สสวท.

http://biology.ipst.ac.th/

https://www.getthegloss.com/article/what-does-cruelty-free-actually-mean

http://checkcosmetic.net/

Share:
Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on linkedin
รับคำปรึกษาฟรี
เริ่มต้นสร้าง
แบรนด์กับเรา
เพิ่มเพื่อน

Connect us

Most Popular

บทความล่าสุด

บทความที่คุณอาจสนใจ