เครื่องสำอาง ‘สมุนไพรไทย’

herbal-cover
โอกาสทางการตลาดของผู้ผลิตสินค้าสมุนไพแบบออร์แกนิกได้รับความสนใจมากขึ้นในกลุ่มผู้บริโภคสายเฮลตี้

ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ทั่วโลกประสบปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ ธุรกิจความงามต้องเผชิญความท้าทายจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยของการเลือใช้เครื่องสำอาง ที่มีส่วนผสมส่วนใหญ่จากธรรมชาติ เช่น Nutural or Oganic Skincare อีกทั้งพฟติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงเสริมความงาม (makeup) ลดลง และหันมาให้ความสำคัญกับส่วนของใบหน้าที่ไม่ถูกปิดบังมากขึ้น นาทีนี้จึงกลายเป็นโจทย์ที่ทุกแบรนด์ต้องปรับตัว โดยพบว่ากระแสเทรนด์ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยถูกพัฒนาเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งคนรุ่นใหม่หันมาใช้ สมุนไพรไทย มากขึ้นจึงทำให้ความนิยมกลับมาแรงอีกครั้ง 

ความเชื่อมั่นและความปลอดภัยจากการใช้เครื่องสำอางบำรุงผิว ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยในรูปแบบใหม่ๆ กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง

ชื่อเสียงสมุนไพรไทยในต่างแดน

หากพูดถึงชื่อเสียงเกี่ยวกับ สมุนไพรไทยต้องบอกว่าปัจจุบันสมุนไพรถูกใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อาหารเสริมยาสมุนไพร โดยเฉพาะในด้านตลาดส่งออกที่บริโภคสมุนไพร ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และอเมริกา เป็นต้น ดังนั้นตลาดสมุนไพรจึงเป็นตลาดที่มีการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับการสร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย (Immune System)

โอกาสสำคัญ ที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดังกล่าวของไทย จะใช้จุดแข็งของสมุนไพรไทย บวกกับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและการวิจัยเพิ่มเติม ต่อยอดผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ เพื่อขยายตลาดต่างประเทศและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก ตลาด สมุนไพรไทย และสารสกัดจากธรรมชาติของประเทศไทย จะแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ สมุนไพรที่ใช้ในอาหารเสริม 17% ยา 4% และ ถูกใช้ในเครื่องสำอางมากถึง 77% ซึ่งมีความน่าสนใจที่ มากกว่า 1,200 ตำรับของไทย มีสมุนไพรไทย 4 ชนิด ที่ได้รับการเลือกใช้มากที่สุด ได้แก่ ไพล ใบบัวบก กระชายดำ และขมิ้นชัน ที่เป็นกลุ่มสมุนไพร “Product Champion” ที่มีศักยภาพในการต่อยอดเชิงพาณิชย์ และเป็นโอกาสทางการตลาดให้กับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรในรูปแบบออร์แกนิก หรือสารสกัดที่ได้มาตรฐานรับรองด้านความปลอดภัย ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติเด่นในด้านต่างๆ แตกต่างกัน

สัดส่วนการใช้ประโยชน์จากสมุนไพร

กระชายดำ

กระชายดำ (Black Galingale) สารสกัดจากเหง้ากระชายดำมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อทางชีวภาพที่เป็นสาเหตุของโรคทางผิวหนังที่ก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ดังนั้นจึงนิยมนำสารสกัดกระชายดำมาพัฒนาเป็นสูตรตำรับผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นบริเวณที่เกิดการสะสมของแบคทีเรีย เช่น เท้า รักแร้ หรือบริเวณในร่มผ้า ซึ่งสูตรตำรับได้ผ่านการทดสอบแล้วพบว่าไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองและปลอดภัย

ไพล

ไพล (Phlai) สมุนไพรไทย ถูกสกัดเป็นน้ำมันไพล นำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ มีการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสที่ทำให้เม็ดสีเข้มขึ้น จึงนิยมพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในรูปเจล ยาแต้มสิว ผลิตภัณฑ์ทางด้านสปา เช่น พอกหน้า พอกตัว ครีมสครับขัดผิวใบบัวบก (Centella)สารสกัดใบบัวบกสามารถสร้างคอลลาเจนได้อย่างมีประสิทธภาพ จึงนิยมผสมในเครื่องสำอางกลุ่มชะลอริ้วรอย อีกทั้งยังพบว่าสารสกัดจากใบบัวบกมีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ดีที่สุด ปัจจุบันจึงมีการพัฒนากรรมวิธีสกัดสารจากใบบัวบกให้ได้สารที่บริสุทธิ์ มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยต่อผู้ใช้มากที่สุด

ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน (Turmeric) เนื่องจากขมิ้นมีน้ำมันหอมระเหยที่เป็นสารสำคัญ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียชื่อ P. acne ที่ทำให้เกิดสิวเสี้ยน สิวอักเสบต่างๆ ลดการอักเสบ อาการแพ้ระคายเคือง กระชับรูขุมขนให้เล็กลง ลดผดผื่นคัน ช่วยสมานแผลและบำรุงผิวให้กลับมาสุขภาพดี

สารสกัดสมุนไพรไทย เพิ่มเติม

จะเห็นได้ว่า สมุนไพรไทย มีสรรพคุณในการดูแลทั้งเรื่องของสุขภาพและเรื่องของความงาม สามารถพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์ออกไปได้อย่างไม่รู้จบ อีกทั้งนอกจากกลุ่มวัยรุ่นที่หันมาสนใจสมุนไพรไทยแล้ว กลุ่มผู้บริโภคสายเฮลตี้ ก็ยังคงที่จะตัดสินใจหรือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรเป็นลำดับแรกในการดูแลตัวเอง เพราะมั่นใจในความปลอดภัย และรู้สึกใกล้เคียงความเป็นธรรมชาติ และนี่จึงเป็นอีกกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่จะไม่เลือนหายไปจากตลาดเครื่องสำอาง

สร้างแบรนด์และพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย คลิก

ข้อมูลอ้างอิง
https://pharmacy.mahidol.ac.th/

Share:
Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on linkedin
รับคำปรึกษาฟรี
เริ่มต้นสร้าง
แบรนด์กับเรา
เพิ่มเพื่อน

Connect us

Most Popular

บทความล่าสุด

บทความที่คุณอาจสนใจ