เตรียมพร้อม ก่อน สร้างแบรนด์ เครื่องสำอาง

Aestethics Definition Company
ขั้นตอนของ Targeting ถือว่าสำคัญ ต้องอาศัยข้อมูลแล้วก็การประเมินอย่างรอบคอบเพื่อให้มั่นใจว่าตลาดที่ธุรกิจจะลงไปนั้นมีความเป็นไปได้

ในยุคปัจจุบันผู้คนเริ่มมองหาธุรกิจเสริม การลงทุนสร้างแบรนด์เครื่องสำอางจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของนักธุรกิจรุ่นใหม่ การเดินบนเส้นทางธุรกิจเครื่องสำอาง โรงงานรับผลิตเครื่องสำอาง (OEM) มีมากมาย สร้างแบรนด์ สินค้าไม่ใช่เรื่องยากเหมือนเมื่อก่อน แต่ความยากนั้นคือ การพัฒนาสินค้า ผลิตมาเพื่อใคร ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายสินค้าสามารถตอบสนองความต้องการได้หรือไม่ สิ่งที่ยากกว่าคือจะทำยังไงให้สินค้าขายได้และต้องตรงกับความต้องการของลูกค้าจริง บ่อยครั้งที่มักจะพบเจอกับการขายสินค้าในช่วงแรกมีกระแสตอบรับดี ลูกค้าสนใจแต่ก็ไม่ซื้อ เป็นเพราะไม่ได้ทำการเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน จุดยืนในตลาดของสินค้าก็สู้คู่แข่งในตลาดไม่ได้ หากเป็นแบบนี้เสี่ยงต่อการขาดทุนขายไม่ออกต่อให้สินค้านั่นจะมีสรรพคุณดีแค่ไหน แทนที่จะประสบความสำเร็จตามที่คาดหวัง ต้องมานั่งคิดหนักหาทางออกไม่เจอ

การหาลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้องตามหลักเครื่องมือการตลาด หรือที่เรียกว่า STP Model  เป็นตัวช่วยให้คุณมองเห็นเส้นทางของการขายสินค้าให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น  STP Model ถือได้ว่าเป็นพื้นฐานของการเริ่มต้นหาลูกค้าที่ทั่วโลกใช้ทำการเจาะกลุ่มเป้าหมาย นำข้อมูลมาวิเคราะห์ปรับใช้กับกลยุทธ์การตลาดของสินค้าหรือบริการ บทความนี้จะพาทุกท่านเจาะลึกถึงหลักการของเครื่องมือทางการตลาดอย่าง STP Model ให้เข้าใจและสามารถนำไปปรับใช้ได้ค่ะ

จะ สร้างแบรนด์ แต่ลูกค้าอยู่ที่ไหน? หาเจอด้วย STP Model

STP Model เป็นเครื่องทางการตลาดที่นำมาวิเคราะห์แบ่งสัดส่วนการตลาดของการ สร้างแบรนด์ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย  และการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ให้ขายและคงอยู่ในพื้นที่ของตลาด หลักการนี้ถือได้ว่าเป็นพื้นฐานสำคัญเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะ STP Model นี้ช่วยประหยัดเวลาและช่วยวิเคราะห์ความเป็นไปได้ ให้สามารถนำข้อมูลที่วิเคราะห์มาปรับใช้กับกลยุทธ์ของสินค้า เพื่อให้คุณบรรลุถึงเส้นชัยตามที่ตั้งไว้ 

หลักการใช้เครื่องมือทางการตลาดในการ สร้างแบรนด์ STP Model แบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

S = Segment

การแบ่งส่วนตลาด โดยใช้หลักเกณฑ์การแบ่งเพื่อให้เห็นตลาดที่ชัดเจนก่อนที่ เป็นการจัดกลุ่มเป้าหมายกลายเป็นกลุ่มก้อนเพื่อให้คนทำธุรกิจพอมองออกว่าตลาดที่สินค้าหรือบริการที่เราจะเข้าไปทำการตลาดนั้น คือใคร มีกี่กลุ่ม และขนาดไหน การแบ่งส่วนตลาดแบ่งสามารถใช้ปัจจัยเบื้องต้นนี้ในการแบ่งส่วนตลาดดังนี้

🔹 ประชากรศาสตร์ Demographic
  • เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา รายได้ เชื้อชาติ และศาสนา
🔹 จิตวิทยา Psychological
  • ค่านิยม รสนิยม รูปแบบการดำเนินชีวิต บุคลิก ตลอดจนระดับชนชั้น
🔹 พฤติกรรม Behavior
  • ความถี่ในการใช้งาน โอกาสในการใช้  ใช้เองหรือซื้อเพื่อคนอื่น
🔹 ภูมิศาสตร์ Geographic
  • ประเทศ ภูมิภาค จังหวัด พื้นที่เขตต่างๆ เช่น ตัวเมือง ตำบล และชนบท

T = Targeting

การกำหนดกลุ่มเป้าหมายจากการวิเคราะห์ข้อมูลตามหลัก Segmentation เมื่อได้กลุ่มเป้าหมายลูกค้าที่ต้องการแล้ว  นำมาพิจารณาความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมายของเราคืออะไร ผลิตภัณฑ์สามารถตอบโจทย์ปัญหาของลูกค้าได้จริง และควบคู่กับการประเมินจากขนาดของตลาด การแข่งขันของสินค้าในอุคสาหกรรมเดียวกัน ความยากง่ายในการเข้าสู่ตลาด แบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้

Mass Market

การเลือกตลาดกลุ่มเป้าหมายใหญ่ ครอบคลุมทุกกลุ่ม จับกลุ่มลูกค้าจำนวนมาก ไม่ได้มีเป้าหมายที่เจาะจงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การ สร้างแบรนด์ ที่จะทำตลาดส่วนนี้ ต้องมีความมั่นใจว่าสินค้าหรือบริการสามารถตอบสนองคนได้ทุกกลุ่ม

Segment Market

การเลือกกลุ่มเป้าหมายบางกลุ่ม จะแบ่งผู้บริโภคออกมามากขึ้น แล้วใช้สินค้าที่แตกต่างเพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าทั้งตลาด เช่น ผู้ชายวัยทำงาน, กลุ่มผู้หญิงที่เป็นแม่บ้าน หรือ สินค้าเกี่ยวกับกีฬา แยกตามประเภทกีฬา

Niche Market

การเลือกกลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม การเลือกกลุ่มเป้าหมายที่มีความละเอียดมาก ลูกค้ามีจำนวนไม่มาก เพราะมีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ข้อดีคือ คู่แข่งทางการตลาดน้อย และ พร้อมที่จะซื้ออยู่แล้ว การแบ่งกลุ่มเป้าหมาย แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลักๆ คือ กลุ่มเป้าหมายใหญ่ กลุ่มเป้าหมายบางกลุ่ม กลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม

ขั้นตอนของ Targeting ถือว่าสำคัญ ต้องอาศัยข้อมูลแล้วก็การประเมินอย่างรอบคอบเพื่อให้มั่นใจว่าตลาดที่ธุรกิจ สร้างแบรนด์ จะลงไปนั้นมีความเป็นไปได้ หรืออย่างน้อยๆ ก็คือสามารถบริหารความเสี่ยงได้ เพราะถ้าสินค้าเรากำหนดกลุ่มเป้าหมายผิด อาจทำให้การทำการตลาดไม่ได้ผลลัพธ์ทีดี นอกจากนี้การที่เรารู้ว่ากลุ่มเป้าหมายคือใครและถ้ายังเข้าใจพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายด้วยจะทำให้เกิดประสิทธิ์ภาพในการทำการตลาดมากขึ้นเช่น พฤติกรรมการใช้ชีวิตเป็นอย่างไร, ซื้อของที่ไหน ออนไลน์หรือเปล่า, หรือ งานอดิเรกชอบทำอะไร เป็นต้น

P = Position

จุดยืนของสินค้า ที่แบรนด์เราจะชนะแบรนด์คู่แข่ง ในส่วนนี้เราจะใช้การพล็อตกราฟเอามาช่วย โดยกราฟจะช่วยให้เราเห็นว่าสินค้าเราอยู่ตำแหน่งไหนในตลาด อะไรที่เด่นกว่า ด้อยกว่า หรือ ใกล้เคียงกันกับแบรนด์คู่แข่ง รวมถึงตำแหน่งจุดยืนของเรา ซ้ำกับใครในท้องตลาดหรือไม่ การเริ่มต้น ทำได้ด้วยการเลือกหัวข้อ เพื่อนำมาวิเคราะห์ โดยพื้นฐาน อาจจะจัดกลุ่มแยกเป็นสองแกนด้าน ดังนี้

จุดยืนด้านอารมณ์ (Emotional) คือ การวางตำแหน่งของแบรนด์ด้วยจุดยืนที่เน้นด้านภาพลักษณ์ บรรยากาศ และอารมณ์ร่วมกับสินค้า โดยการวาง Positioning แบบ Emotional ถือเป็นวิธีหนึ่งในการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้กับสินค้าที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ซึ่งสามารถพบได้บ่อยในสินค้าที่ใช้เพื่อแสดงฐานะของผู้ใช้ และสินค้าฟุ่มเฟือย (Luxury Goods)

จุดยืนด้านการใช้งาน (Functional) คือ จุดยืนที่เน้นเรื่องเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าหรือบริการ ฟังก์ชั่นการใช้งาน รวมทั้งความคุ้มค่าที่ได้รับ อย่างไรก็ตามการวางตำแหน่งทางการตลาดเกี่ยวกับด้าน Funciional อาจไม่ได้หมายความว่าคุณภาพของสินค้าจะต้องคุณภาพสูงเสมอไป อาจจะเป็นสินค้าคุณภาพต่ำลงมาแต่มีราคาที่สมเหตุสมผลก็ได้ 

ตัวอย่างการจำลองกราฟ Position ของแบรนด์

ปัจจัยในการวิเคราะห์ 2 ตัวแปร คือ
🔹 1. ปัจจัยด้าน ‘ราคา’
🔹 2. ปัจจัยด้าน ‘คุณภาพ’

การเปรียบเทียบระหว่างแบรนด์ A และ B ซึ่งเราทำกราฟขึ้นมาเพื่อให้เห็นภาพว่าหากทำผลิตภัณฑ์ออกมาแล้ว ประสิทธิภาพการทำงานและราคา สามารถสู้กับคู่แข่งได้หรือไม่ โดยประเมินได้จากผลของกราฟที่ยกตัวอย่างแกน X คือ ราคา แกน Y คือการทำงานของสินค้า แต่นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างเพื่อท่านทราบหลักการของ Positioning ซึ่งการดำเนินธุรกิจต่างๆต้องอาศัยการวิเคราะห์จาก STP Model เครื่องมือในการตลาดที่ทรงพลัง  ในส่วนของการพิจารณาจุดยืนของสินค้าไม่จำเป็นจะต้องเป็นประสิทธิภาพและราคาเสมอไป ขึ้นอยู่กับสินค้าเป็นรูปแบบไหนมากกว่า  

เครื่องทางการตลาดอย่าง STP Model ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้งานได้ง่าย สามารถช่วยให้ธุรกิจ พัฒนาสินค้า ได้ตรงกับความต้องการลูกค้ามากขึ้น เพราะ STP Model จะตั้งต้นที่ความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก  สินค้าที่จัดจำหน่ายสามารถแก้ปัญหาได้จริง ต่อให้สินค้าและบริการจะเป็นรูปแบบไหนลูกค้าก็จะมองว่าดีสำหรับตนเองเสมอ

อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญ ในการทำธุรกิจเครื่องสำอาง นั้นก็คือ การมองหาโรงงานผลิตเครื่องสำอางที่ได้มาตรฐานที่ สร้างแบรนด์  ครบจบ แต่โรงงานก็มีมากมายทั่วไป อีกทั้งยังสามารถค้นหาได้บนอินเตอร์เน็ต แต่การเลือกโรงงานที่มีผู้เชี่ยวชาญ หรือ R&D (Research And Development) เป็นสิ่งสำคัญ เพราะไม่ว่าคุณจะวางแผนการพัฒนาสินค้ามาอย่างดี แต่โรงงานผู้ผลิตกลับไม่มี R&D ที่มีความสามารถมากพอ อาจจะทำให้การพัฒนาสูตรสินค้าที่ผลิตออกมาไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องการ ต้องเสียเวลาในการหาโรงงานใหม่


⭐️ ข้อมูลและขั้นตอนการสร้างแบรนด์ Click ⭐️ สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Click ⭐️

Share:
Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on linkedin
รับคำปรึกษาฟรี
เริ่มต้นสร้าง
แบรนด์กับเรา
เพิ่มเพื่อน

Connect us

Most Popular

บทความล่าสุด

บทความที่คุณอาจสนใจ