สารตั้งต้นของ PM 2.5 ก่อนจะรวมตัวกับไอน้ำ และฝุ่นควัน คือ ก๊าซพิษ ซึ่งทำตัวเสมือนสารก่อระคาย เคืองผิว กระตุ้นการเกิดสิว และทำให้ผิวแพ้ง่าย
มีงานวิจัยว่ามลพิษของอากาศ
ไม่ใช่แค่มลพิษที่เจอในแต่ล
“มลพิษ” เป็นสิ่งที่เราได้ยินกันมาตั้งแต่จำความได้ โดยเฉพาะ“มลพิษทางอากาศ” ซึ่งกำลังเป็นปัญหาของคนทั่วโลก มลพิษทางอากาศมักเจอในรูปแบบของเขม่าควันเสียจากรถยนต์ จากโรงงานอุตสาหกรรม การเผาไหม้ตามที่ต่างๆ ซึ่งมีขนาดใหญ่จนตามองเห็น เช่น ควันสีขาวหรือดำ และที่มองไม่เห็น เช่น อนุภาคขนาดเล็ก (PM) ซึ่งจากข้อมูลการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าต่างก็มีผลกระทบต่อผิวพรรณของเราทั้งสิ้น ยกตัวอย่าง มลพิษที่พบเจอได้มาก เช่น
มลพิษจากควันรถ
มลพิษจากควันรถ มักมีส่วนประกอบของสารกลุ่ม Polycyclic Aromatic Hydrocarbons หรือ PAHs ซึ่งสามารถเกิดได้เองตามธรรมชาติจากกระบวนการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของสารอินทรีย์ รวมทั้งควันจากท่อไอเสียรถยนต์และควันบุหรี่ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม การกลั่นน้ำมันดิบ อุตสาหกรรมไม้ซึ่งใช้สารเคลือบทาเนื้อไม้เพื่อป้องกันแมลงที่มี PAHs เป็นองค์ประกอบ
สารในกลุ่มนี้ที่พบมากในควันรถ คือ benzo[a]pyrene ซึ่งเมื่อเจอกับรังสี UVA จะก่ออนุมูลอิสระ ซึ่งทำลายเซลล์ผิวหนัง และกระตุ้นสารก่อการอักเสบ ส่งผลให้เกิดสิว ริ้วรอยจากอนุมูลอิสระ อีกทั้งยังกระตุ้นให้มีการสร้างเม็ดสีที่ผิดปกติมากขึ้น
สาร PAHs มีความคงตัวในสภาพแวดล้อมได้นานหากไม่ถูกละอองน้ำ และมักจะอยู่รวมกับอนุภาคขนาดเล็กที่ล่องลอยในอากาศได้ (Particulate Matter) อีกทั้งยังสามารถพบการปนเปื้อนร่วมกับสารมลพิษอื่นโดยเฉพาะโลหะหนักหลายชนิด ได้แก่ สารหนู แบเรียม แคดเมียม โครเมียม ตะกั่ว ปรอท นิกเกิล และสังกะสี
มลพิษจาก Particulate Matter
Particulate Matter หรือ PM คืออนุภาคขนาดต่าง ๆ ที่มีหน่วยเป็นไมครอน (1 ใน 1000 ของมิลลิเมตร) แขวนล่องลอยในอากาศ บ้างก็ใหญ่พอที่จะเห็นด้วยตาเปล่าและบ้างก็มีขนาดเล็กมากจนมองไม่เห็น
Particulate Matter ที่เล็กกว่า 10 ไมครอน เช่น PM 2.5 จัดเป็นมลพิษที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมากที่สุด เพราะระบบป้องกันในโพรงจมูกของเราไม่สามารถดักจับเอาไว้ จึงแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมสู่กระบวนการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังและมะเร็ง ตามคำเตือนขององค์การอนามัยโลก
ปกติแล้ว สารตั้งต้นของ PM 2.5 ก่อนจะรวมตัวกับไอน้ำ และฝุ่นควัน คือ ก๊าซพิษ ซึ่งได้แก่ ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide : CO) ที่ล้วนแล้วแต่เป็นสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์ทั้งสิ้น โดยมลภาวะเหล่านี้ทำตัวเสมือนสารก่อระคายเคืองผิว จนกระตุ้นให้มีการหลั่งสารไซโตไคน์ (Cytokines) ก่อให้เกิดการอักเสบ ผิวแพ้ง่าย ระคายเคือง ได้
มีงานวิจัยการศึกษาจากในเม็กซิโก และเซี่ยงไฮ้ ชี้ให้เห็นชัดเจนว่ามลพิษของอากาศ ส่งผลให้สารต้านอนุมูลอิสระของผิวลดลงและภูมิต้านทานผิวหนังแย่ลง ทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื่น แพ้ง่าย เป็นสิวได้ง่ายกว่าคนที่ไม่ค่อยได้สัมผัสมลพิษทางอากาศ
ป้องกันผิวจากมลพิษทางอากาศ
- ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่จำเป็นต้องออกข้างนอกบ้าน หรือต้องผ่านที่โล่งแจ้ง โดยแนะนำให้ใส่หน้ากากพิเศษชนิดที่เรียกว่า “เอ็นเก้าห้า (N95)”
- ออกกำลังกายในที่ที่มีฝุ่นน้อย ไกลจากถนน อาจเปลี่ยนเป็นออกในบ้านหรือฟิตเนส แทนการวิ่งตามสวนสาธารณะ
- เครื่องสำอางปกป้องผิวจากแสงแดด เพราะแสงแดดเป็นตัวกระตุ้นให้มลพิษทางอากาศทำงานได้ดีขึ้น การปกป้องผิวด้วยการทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้านตอนเช้า จึงเป็นตัวช่วยที่ดี
- ครีมบำรุงผิวที่ผสมสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี วิตามินอี แอสต้าแซนติน โคเอนไซม์คิวเท็น
- รับประทานผักและผลไม้หลากสีสัน เพื่อรับสารต้านอนุมูลอิสระให้ร่างกายไว้ใช้ต่อสู้กับมลพิษทางอากาศ
- อาหารเสริมปกป้องผิวจากแสงแดด มลภาวะ และลดการอักเสบให้ผิว เช่น
- ไฮดร็อกซีไทโรซอล ( Hydroxytyrosol )และ เวอร์บาสโคไซด์ ( Verbascoside ) ที่พบได้ในผลและใบมะกอก
- แอสต้าแซนติน (Astaxanthin) จากสาหร่ายสีแดง (Haematococcus Pluvialis)
- สารสกัดจากเมล็ดองุ่นและเปลือกสน (Grape seed and Pine Bark Extract)
ปัญหามลพิษในอากาศ ส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ดังนั้น เราจึงควรช่วยกันดูแลรักษาคุณภาพอากาศ ใครจะไปรู้ว่า เราก็อาจมีส่วนที่จะทำให้เกิดปัญหามลพิษในอากาศทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ถ้าเราช่วยกัน สักวัน อากาศสดใสคงจะกลับคืนมาในเร็ววันค่ะ
รายการอ้างอิง