SAY NO To Skin Cancer รู้จักใช้ และเข้าใจแสงแดด

กันแดด

ไม่ว่าฤดูไหนเราก็หลีกเลี่ยง ” แสงแดด ” ไม่พ้น ทั้งที่ในความจริงแล้วแสงแดดก็มีประโยชน์มาก เพราะมีส่วนช่วยผลิตวิตามินดีในผิว แต่การได้รับแสงแดดมากเกินไปก็เกิดอันตรายได้ เพราะในแสงแดดจะประกอบไปด้วยรังสีและแสงหลายชนิด ที่แตกต่างกันตามความยาวคลื่น โดยแบ่งเป็น

  • แสงอินฟราเรด (Infrared) หรือแสงที่ให้ความร้อน มีปริมาณ 50% ของแสงแดดทั้งหมด และมีพลังงานต่ำกว่าแสงที่ให้ความสว่าง โดย Infrared A เป็นคลื่นแสงที่ทำให้เกิดผิวแก่ก่อนวัย (Photo aging) ย่อยสลายคอลลาเจน (Collagen Breakdown) และเกิดรอยเหี่ยวย่นของผิวหนัง เพราะสามารถกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระได้ แต่ต้องใช้ปริมาณสูงมาก
  • แสงที่มองเห็น (Visible light) มีปริมาณ 45% ของ แสงแดด ทั้งหมด คือ แสงสีฟ้า หรือ Blue Light มีพลังงานต่ำแต่ถ้าได้รับเป็นเวลานานก็ทำให้ผิวคล้ำเสีย กระตุ้นให้ฝ้าเข้มขึ้น ผิวเสื่อมจากแดดได้ เนื่องจากสามารถกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระ ทำลายคอลลาเจน (Collagen) และอีลาสติน (Elastin) ในชั้นผิว และเกิดผิวแก่กว่าวัย (Photo-aging) 
  • แสงที่มองไม่เห็น (Invisible Light) มีปริมาณ 5% เช่น อัลตราไวโอเลต (Ultraviolet light/UV) ที่เราต่างคุ้นหูกันดี               

FYI : แสงสีขาวนั้นแบ่งได้ 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง โดยเฉพาะในช่วงคลื่นของ High-Energy Visible Light (HEV) หรือแสงสีฟ้า (Blue Light) จะผสมอยู่ในช่วงครามกับน้ำเงินที่มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 400~500 นาโนเมตร เป็นแสงที่สามารถพบได้ทั้งในแสงแดด (เช่นเดียวกับรังสี UVA และ UVB) รวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ

 

แสงที่มองไม่เห็น Invisible Light

shutterstock_1425271346

ในบทความนี้ จะขอพาทุกคนมาทำความรู้จักและเข้าใจแสงแดด กลุ่มแสง Invisible Light หรือที่หลาย ๆ คนรู้จักในชื่อ แสง UV กันมากขึ้น 

แสงที่มองไม่เห็น (Invisible Light) คือแสงที่มีพลังงานสูง และเป็นสาเหตุสําคัญของผิวไหม้แดง ผิวคล้ำมะเร็งผิวหนัง และผิวชราจากแดด เช่น อัลตราไวโอเลต (Ultraviolet light ;UV) หรือรังสียูวี มีด้วยกัน 3 รูปแบบ ดังนี้

– UVA (Long wave UVR หรือ Black light)  มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 320~400 นาโนเมตร และไม่ถูกดูดซับจากชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก หากสัมผัสในระยะเวลานานๆ จะทำลายคอลลาเจนและอิลาสตินจนหมดความยืดหยุ่น ก่อให้เกิดความเหี่ยวย่นของผิวหนัง แต่ไม่ทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนัง จนถึงระดับรุนแรงที่อาจเกิดเป็นเซลล์มะเร็งได้

UVB (Middle UVR หรือ Sunburn radiation)  มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 290~320 นาโนเมตร ชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกดูดซับรังสีชนิดนี้ไม่ได้ทั้งหมด ทำให้มีบางส่วนตกลงมายังพื้นโลก เมื่อสัมผัสร่างกาย จะผ่านเข้าไปที่ชั้นผิวหนังกำพร้าและผิวหนังแท้ด้านบนเท่านั้น แต่รังสี UVB นั้นมีอยู่มาก และเป็นสาเหตุของการเกิดผิวไหม้ จนถึงระดับรุนแรงที่อาจเกิดเป็นเซลล์มะเร็งได้

UVC (Short wave UVR หรือ Germicidal radiation)  เป็นรังสีคลื่นสั้น สเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ช่วงความยาวคลื่น 200~290 นาโนเมตร มีความถี่ที่สูงกว่าช่วงของแสงที่ตาเรามองเห็นได้ปกติ โดยแสงยูวีซี (UV-C) เป็นแสง UV ที่มีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือเชื้อโรคต่างๆ ในอดีตรังสี UVC จะถูกกรองไว้ได้ทั้งหมดโดยชั้นโอโซน จึงไม่สามารถผ่านชั้นบรรยากาศของโลกลงมาได้ แต่ปัจจุบันนี้พบว่ารังสี UVC ก็สามารถทะลุชั้นโอโซนมายังพื้นโลกได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เป็นผลจากมลพิษที่มนุษย์ก่อขึ้น จนไปทำลายชั้นโอโซนให้บางลง

แม้แสงแดดจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่การได้รับแสงแดดที่มากเกินไปก็ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพผิวได้เช่นกัน

แสงแดด 2

อาการหรือโรคผิวหนังที่เกิดจาก แสงแดด UV ที่มากเกินไป

  • ผิวไหม้แดด (Sunburn)
    • รังสี UVB ทำให้ผิวมีสีแดง พุพอง อาการอาจไม่เกิดขึ้นทันที อาจใช้เวลาถึง 5 ชั่วโมง สามารถใช้ผ้าเย็นหรือผลิตภัณฑ์ที่เย็นประคบบรรเทาการอักเสบ 

  • อาการแพ้แดดไม่ทราบสาเหตุ (Polymorphus Light Eruption: PMLE)
    • คิดเป็นประมาณ 90% ของผู้ปวยทั้งหมดที่แพ้แสงแดด การแพ้แดดถูกกระตุ้นจากภาวะความเครียดอ็อกซิเดชั่น (Oxidative stress) ที่เกิดโดยรังสี UVA และ UVB

  • โรคผิวหนังที่กำเริบมากขึ้นจากแสงแดด (Photoexacerbated Dermatoses)
    • อาการผิวหนังกำเริบนี้ ส่วนใหญ่จะเกิดจากภูมิคุ้มกันเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น โรคลูปัส (systemic lupus erythematosus, SLE) ผื่นแพ้แสง (มีผื่น เมื่อสัมผัสกับแสง)

  • สิวผด (Acne)
    • เกิดขึ้นเมื่อรังสียูวีรวมกับส่วนผสมบางอย่างในเครื่องสำอางหรือครีมกันแดด เช่น emulsifiers ก่อให้เกิดการระคายเคืองอักเสบของไขมันบริเวณรูขุมขน แต่มีโอกาสเกิดขึ้น 1-2% พบมากในกลุ่มอายุ 25-40 ปี

  • ริ้วรอยก่อนวัย (Early Wrinkles)
    • เกิดจากผิวไม่ได้รับการปกป้อง ผิวหนังได้รับแสงแดดต่อเนื่อง จึงทำให้คอลลาเจนใต้ผิวหนังเสื่อมไว ทำให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย รวมถึงฝ้า กระ จุดด่างดำจากอายุ (Liver spot) และเกิดหลอดเลือดดำที่เหมือนใยแมงมุม (Spider Vein) บนใบหน้า

  • ผิวเสื่อมและมะเร็งผิวหนัง (Skin Cancer)
    • มีลักษณะมีรอยย่น ผิวแห้ง สีผิวไม่สม่ำเสมอ เส้นเลือดและรูขุมขนขยายตัว ผิวตกกระ บางรายผิวหนาตัวขึ้นและขรุขระ ซึ่งอาจเกิดมะเร็งผิวหนังได้     

  • ยาและสารเคมีที่กระตุ้นให้ไวต่อแสง (Chemical and Drug Photosensitivit
    • เกิดได้จากทั้งยาชนิดรับประทาน ยาที่ใช้ทาภายนอกและเครื่องสำอาง เช่น ยาต้านการอักเสบ เช่น Ibuprofen สามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาไวต่อแสงได้ และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) ยากลุ่มสแตนติน ยากลุ่มเรตินอยด์ และยาฆ่าเชื้อรา

เราจึงควรหลีกเลี่ยงแสงแดด ช่วง 10.00-16.00 น.เพราะมีรังสี UVB อยู่เข้มข้น ทำให้ผิวถูกเผาไหม้ได้มากกว่าช่วงเวลาอื่น ถ้าจำเป็นให้สวมเสื้อแขนยาว กางร่ม ใส่หมวกปีกกว้าง ใส่แว่นตากันแดด จะช่วยป้องกันแสงแดดไม่ให้ทำลายผิวและป้องกันการเกิดต้อกระจกได้อย่างดี ที่สำคัญควรทาสารป้องกันแดด (Sunscreen) หรือครีมกันแดด เป็นประจำทุกวัน

FYI : สำหรับช่วงเวลาที่แสงแดดจะเหมาะสมต่อผิว นั่นคือ ตั้งแต่ 08.00 – 10.00 น. และ 15.00 – 17.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่แสงแดดไม่แรงและไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนังมากเกินไป ซึ่งระยะเวลาเพียง 30 นาที ในการที่ผิวหนังเปิดรับแสงแดดเข้าสู่ร่างกาย ผิวจะสร้างวิตามินดีได้ถึง 200 ยูนิตเลยทีเดียว

 

แล้วถ้าพูดถึงการปกป้องผิวก็จะนึกถึงครีมกันแดด และครีมกันแดดมีกี่ประเภท? มีหน้าที่ในการปกป้อง แสงแดด ยังไง? และควรเลือกแบบไหน?

แสงแดด

SUNSCREEN ครีมกันแดด มี 3 ประเภท คือ

  • สารป้องกันแดด สะท้อนแสง Physical Sunscreen : ครีมกันแดดแบบสะท้อนรังสีออกจากผิว เหมือนกางร่มให้ผิว แต่บางตัวทาแล้วจะขาววอก เพราะกระจาย SPF ไม่สม่ำเสมอ สังเกตง่าย ๆ ครีมกันแดดประเภทนี้จะมีส่วนผสมของ Titanium Dioxide และ Zinc Oxide

  • สารป้องกันแดด ดูดแสง Chemical sunscreen : ครีมกันแดดแบบช่วยดูดซับรังสีไว้ที่ผิวหนังชั้นนอกสุด ไม่ให้ผ่านเข้าทำร้ายผิวเราได้ แต่บางตัวอาจทำให้เกิดการแพ้ ระคายเคืองได้ ส่วนผสมที่สังเกตได้ เช่น Avobenzone , Octyl methoxycinnamate , Octyl salicylate

  • สารป้องกันแดดแบบผสม Hybrid Sunscreen : ครีมกันแดดแบบที่มีคุณสมบัติทั้งสะท้อนและดูดซับรังสีในตัวเอง เช่น Bis-Benzotriazolyl Tetramethylbutylphenol หรือ Tinosorb M (ปกป้องผิวจากรังสี UVA-I,UVA-II, UVB ได้)

 

ผลิตภัณฑ์กันแดดที่ดีควรปกป้องผิวได้ทั้งรังสี UVA-I, UVA-II และ UVB ซึ่งเราสามารถเลือกได้จากค่า SPF และ PA ที่ระบุบนผลิตภัณฑ์ แล้วแต่ละค่าป้องกันในเรื่องอะไรบ้าง ไปดูพร้อมกันเลย

ค่า SPF ค่า PA คืออะไร ?

ค่า SPF : คือระยะเวลาที่เราจะทนแสงแดดได้นานแค่ไหน เช่น ยืนกลางแดด 15 นาที ผิวจะไหม้ไม่ไหวแล้วแม่ พอทาครีมกันแดด SPF 30 ผิวจะสู้แดดได้นานกว่าเดิม 30 เท่า หรือ 30 X 15 = 450 นาที แสดงว่าผิวจะทนแสงแดดได้ประมาณ 7 ชั่วโมงนั่นเองค่ะ แต่ครีมกันแดดก็สามารถเสื่อมสภาพตามเวลา ทั้งโดนเหงื่อและมลภาวะอีก จึงควรทาซ้ำทุก ๆ 2 ชั่วโมง

ค่า PA : คือระดับการปกป้องผิวจากแสงแดด ยิ่งบวกมากเท่าไรก็จะสามารถกันแดดแรง ๆ ได้มากขึ้น
☀️ PA+ ป้องกันเบา ๆ เหมาะกับอยู่ในห้อง ไม่เจอแสงแดดเลย
☀️ PA++ ระดับปานกลาง ทำงานออฟฟิศ หรือทำงานที่บ้าน Work from Home
☀️ PA+++ ระดับสูง ทำงานกลางแสงแดด ออกไปเที่ยว ช้อปปิ้ง
☀️ PA++++ ระดับสูงสุด กิจกรรมกลางแจ้ง เล่นกีฬา

การเลือกครีมกันแดดตาม LIFESTYLE & SKIN TYPES

การเลือกครีมกันแดดตามสถานการณ์

ครีมกันแดดอยู่บ้าน : วันสบาย ๆ อยู่บ้านก็ต้องทาครีมกันแดด เพราะแสงแดดส่องเข้ามาถึงเราได้ทุกทิศ แถมแสงสีฟ้าจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ที่เราเล่นเกม ดูหนังอีกด้วย จึงแนะนำครีมกันแดดเนื้อเบา ๆ SPF 30 PA++ ก็เหมาะกับวันอยู่บ้านแล้ว

ครีมกันแดดมนุษย์ทำงานออฟฟิศ : ต้องเจอทั้งแสงจากหลอดไฟ หน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แสงแดดตอนออกไปทานข้าวกลางวัน ไม่ทาครีมกันแดดคือไม่ได้เด็ดขาด ขอแนะนำครีมกันแดด SPF 50 PA+++ อาจเลือกเนื้อที่เป็นเมคอัพเบสช่วยเตรียมงานผิวให้ติดทนขึ้น

ครีมกันแดดสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง : กีฬากลางแจ้งกับแดดประเทศไทยของ เราต้องใช้ครีมกันแดด SPF 50+ PA++++ เพื่อการปกป้องสุงสุด พกไปทาทุก ๆ 2 ชั่วโมง ก็จะช่วยปกป้องผิวได้มากขึ้น

การเลือกครีมกันแดดตามสภาพผิว

  • กันแดดเนื้อครีม : เหมาะกับผิวธรรมดา ผิวแห้ง มีส่วนผสมช่วยบำรุงให้ผิวชุ่มชื้น
  • กันแดดเนื้อเจล : ซึมไว เบาสบายผิว เหมาะกับผิวมัน ผิวผสม ผิวแพ้ง่าย เนื้อบางเบาไม่อุดตัน หมดกังวลเรื่องสิว
  • กันแดดเนื้อน้ำนม : เนื้อบางเบาสบาย ๆ ไม่เหนียวเหนอะหนะ เหมาะกับสาวผิวมัน ผิวผสม ผิวแพ้ง่าย คล้ายกับเนื้อเจล
  • กันแดดสเปรย์ : เหมาะกับสายกีฬากลางแจ้ง เที่ยวทะเล หรือพกพาไว้เติมระหว่างวัน ฉีดซ้ำได้เรื่อย ๆ ใช้งานง่าย
  • กันแดดแบบแท่งหรือสติ๊ก : เหมาะกับการเติมระหว่างวัน พกพาสะดวก เกลี่ย ๆ ตบ ก็สามารถเติมกันแดดระหว่างวันได้
  • กันแดดเมคอัพเบส : เหมาะสำหรับเตรียมผิวก่อนลงรองพื้น แป้ง ทำให้เมคอัพติดดีขึ้น ได้งานผิวใส ๆ

เพียงทำความเข้าใจเกี่ยวกับแสงแดดประเภทต่างๆ ก็ทำให้เลือกครีมกันแดดได้อย่างเหมาะสมกับตัวเองแล้ว .. อีกทั้งยังสร้างไอเดียใหม่ๆให้กับผู้ประกอบการที่สนใจสร้างแบรนด์ครีมกันแดดสูตรใหม่ๆ  เพื่อเปิดตลาดสกินแคร์อีกด้วย  

แต่ความเข้าใจอีกเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับสารซิลิโคน ที่มักจะถูกนำมาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์กันแดดอย่างแพร่หลายนั้น ก่อให้เกิดการอุดตัน แพ้ และอันตราย จริงไหม ? ในบทความหน้าเราจะมาบอกกัน

⭐️ สินค้ากลุ่มกันแดดเพิ่มเติม Click ⭐️


ข้อมูลอ้างอิง
https://www.doctor.or.th

Share:
Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on linkedin
รับคำปรึกษาฟรี
เริ่มต้นสร้าง
แบรนด์กับเรา
เพิ่มเพื่อน

Connect us

Most Popular

บทความล่าสุด

บทความที่คุณอาจสนใจ